เหตุการณ์เด็กชายอายุ 14 ปีคนหนึ่งกราดยิงภายในศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงบ่ายแก่วันอังคาร (3 ต.ค.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และบาดเจ็บ 4 ราย นับเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญอย่างยิ่ง
การกราดยิงในศูนย์การค้าสยามพารากอนดังกล่าวผู้ก่อเหตุยังเป็นเยาวชน จึงน่าสนใจว่า ถ้าหากสุดท้ายพบว่ามีความผิดจริง จะได้รับโทษเท่าใด
พลิกกฎหมายโทษเยาวชน
ประมวลกฎหมายอาญาหมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา มาตรา 73-76 มีการกำหนดเอาไว้ว่าถ้าผู้ก่อคดีอาญาเป็นเยาวชนจะต้องได้รับโทษที่ต่างกับผู้ก่อเหตุที่บรรลุนิติภาวะดังนี้
- ไม่เกิน 7 ปี (ม.73)
- ไม่ต้องรับโทษ
- 7-14 ปี (ม.74)
- ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจดำเนินการดังนี้
- ว่ากล่าวตักเตือน
- เรียกบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาตักเตือนด้วย
- วางเงื่อนไขให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังไม่ให้เด็กก่อเหตุตลอด 3 ปี และถ้ายังก่อเหตุร้ายอีก บิดามารดาจะถูกปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
- ถ้าอยู่กับบุคคลอื่น ศาลจะเรียกบุคคลนั้นมาสอบถามว่าจะยอมรับเงื่อนไขของศาลหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับศาลจะสั่งให้นำตัวเด็กให้องค์กรที่เกี่ยวข้องไปดูแล
- ส่งตัวไปอบรม
- ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจดำเนินการดังนี้
- 14-17 ปี (ม.75)
- ถ้าศาลเห็นว่าแยกแยะผิดชอบชั่วดีไม่ได้ ก็ให้ทำตาม ม.74
- ถ้าศาลเห็นว่าควรลงโทษ ให้ลดโทษกึ่งหนึ่ง
- 17-20 ปี (ม.76)
- ลดความผิดลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่ง