เปิดสาเหตุ “เรือหลวงสุโขทัย” ล่ม กองทัพเรือชี้ เพราะอากาศเปลี่ยนฉับพลัน

Home » เปิดสาเหตุ “เรือหลวงสุโขทัย” ล่ม กองทัพเรือชี้ เพราะอากาศเปลี่ยนฉับพลัน
เปิดสาเหตุเรือล่ม

กองทัพเรือ แถลงสาเหตุ เรือหลวงสุโขทัย อับปาง ชี้เพราะอากาศเปลี่ยนฉับพลัน และคลื่นสูง 6 เมตร ทำให้เรือโคลง ควบคุมเรือไม่ได้

วันนี้ (9 เม.ย.2567) พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ แถลงผลสอบสวน กรณี “เรือหลวงสุโขทัย” อับปางในทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากวิดีทัศน์ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปาง มาจากสภาพอากาศและคลื่นลม สภาพอากาศแปรปรวน เปลี่ยนแปลงฉับพลัน รุนแรงคลื่นสูง 6 เมตร จนทำให้เรือหลวงสุโขทัยล่ม

ทั้งนี้ รล.สุโขทัย สามารถเดินเรือได้ที่ CStage 5 ในระดับคลื่นที่มีความสูง 2.5-4 เมตร โดยสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ฉับพลัน จากที่มีการพยากรณ์ไว้ให้เรือโคลงมาก ควบคุมเรือได้ยาก การทรงตัวของเรือและกำลังพลอยู่ในภาวะไม่ปกติ การทำกิจวัตรหรือปฏิบัติงานไม่สามารถทำได้เหมือนในภาวะปกติ และเป็นคืนเดือนมืดเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น มีข้อจำกัดในการและช่วยเหลือ และคลื่นลมแรงทำให้ลูกเรือถูกพัดกระจายตัวออกไป และเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอด

ภาพเรือ (1)

นอกจากนี้ ในวันที่ 18-19 ธ.ค.มีเรืออับปางในอ่าวไทยถึง 7 ลำ เรือขนาดใหญ่สุด คือ เรือสินค้าที่ใหญที่สุดมีขนาด ขนาด 2,123 ตันกรอส อันเนื่องมาจากสภาพอากาศแปรปรวน เปลี่ยนแปลงฉับพลัน รุนแรง โดยเรือที่ล่มทั้ง 7 ลำมีดังนี้

  1. รล.สุโขทัย
  2. เรือสินค้าอนุบูลย์
  3. เรือสันทัดสมุทร
  4. ซัมเมอส์ซัคเซสอุตมะ
  5. เรือ ส.4 นพรัตน์
  6. เรือประมงทรัพย์สุนันท์
  7. เรือประมง ส.เอกรัตน์ 19

ด้าน พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และคณะกรรมการสอบสวนระบุว่า ข้อมูลจากวัตถุพยาน หลังเรือหลวงสุโขทัยอับปาง กองทัพเรือ ลงดำน้ำสำรวจเรือทั้งหมด 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 มีการปฏิบัติการร่วมกับ กองทัพเรือ และสหรัฐฯ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจครั้งที่ 4 คือ ค้นหาศพที่ติดค้างในเรือซึ่งไม่พบ ปลดวัตถุอันตราย และสำรวจภายในและภายนอก และการจมมาจากการที่น้ำเข้าเรือ จาก 2 กรณี คือ

  1. จากทางท้องเรือ ทำให้สูญเสียกำลังลอย
  2. น้ำเข้าทางด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือ (จุด CG) ทำให้เรือเอียง

สุดท้ายทำให้ทราบว่า เรือหลวงสุโขทัยเอียงก่อนโดยน้ำเข้าทางดาดฟ้าและจากนั้นจึงจมทางท้ายเรือ

เรือหลวงสู้ไพรินทร์-min-1

พล.ร.ต.อภิรมย์กล่าวต่อว่า ขณะที่แผ่นกันคลื่นมีอาการยุบ มีพื้นที่เสียหายราว 148 ตารางเมตร ซึ่งใหญ่มาก จากคลื่นลมแรงทำให้ดาดฟ้าเปิดเป็นช่อง เมื่อเรือมุดคลื่นจึงทำให้น้ำเข้ามาในเรือมาก และจุดที่ 2 ตำแหน่งป้อมปืน ยุบลงไป โดยไม่ได้เกิดจากคลื่น เพราะสามารถทดกำลังกดได้

ซึ่งสาเหตุที่ยุบ เพราะโดนของแข็งกระแทก แต่ไม่พบหลักฐานว่า วัตถุดังกล่าวติดอยู่บริเวณป้อมปืน ขณะที่รอยรั่วของเรือที่ยุบเข้าไป เกิดจากวัตถุภายนอกกระแทก ไม่ได้เกิดจากตะเข็บของเรือ ซึ่งเกิดจากการกระแทก แต่ไม่พบวัตถุตกอยู่เช่นกัน ยาว 1 ฟุต กว้าง 3-4 นิ้ว

พล.ร.ต.อภิรมย์ กล่าวว่า ขณะที่จากการสำรวจบริเวณหัวเรือ ซึ่งเป็นห้องเก็บเชือกในการเทียบเรือ ซึ่งเป็นห้องที่มีโอกาสที่ทำให้น้ำเข้าได้ และทำให้เรือเอียง รวมถึงประตูใต้ป้อมปืนที่ปิดไม่สนิท ทำให้น้ำไหลไปห้องทางเดิน และไปท่วมห้องเครื่อง

ความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการเสียการทรงตัวคือ แผ่นกันคลื่น ป้อมปืน 76 รู ทะลุบริเวณกราบซ้าย ห้องกระชับเชือกหัวเรือ และประตูด้านท้ายป้อมปืน แผลพวกนี้ทำให้น้ำเข้าเรือ และท่วมไปยังห้องด้านหลัง และทำให้เรือเสียการทรงตัวเอียงและจมในที่สุด

GKtuqQqboAADqzb
GKturJzacAAPz04

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ