ผลสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566 ในปีที่ผ่านมาพบคนไทยจำนวนไม่น้อย มีความผิดปกติทางอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน กว่า 1.06 ล้านคน และเป็นโรคซึมเศร้า , ไบโพล่าร์ มากขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยยุคนี้เศรษฐกิจสามารถทำให้คนมากมายเกิดอาการเครียด จนอาจจะส่งผลต่อสถาบันครอบครัว เกิดความกดดันและแบกรับความหวังเอาไว้ จนความเครียดสะสมกลายเป็นโรคซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน
เราจะมีวิธีเช็กอาการความเครียดของตนเองได้อย่างไร วันนี้ ไบรท์ทีวี (BrightTV) มีแบบประเมินความเครียดมาให้ทุกคนได้ลองเช็กตนเอง และวิธีการคลายเครียดด้วยวิธีง่ายๆด้วยตัวเอง
- ผู้ป่วยจิตเวชทำผิด มีกระบวนการทางกฏหมายอย่างไร?
- ขอพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน! ผลสำรวจ 50% ถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย
- มาเช็กกันหน่อย! คุณเป็นคนแบบไหน Extrovert , Introvert และ Ambivert
ครั้งหนึ่งครั้งใดในชีวิต คนไทย 1.06 ล้านคน (ร้อยละ 1.9) มีความผิดปกติทางอารมณ์
- ความชุกชั่วชีวิตสูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 2.1
- หญิงสูงกว่าชาย 2 เท่า
- วันรุ่น-วัยทำงานตอนต้น สูงกว่าวัยอื่น
9.61 แสนคน (ร้อยละ 1.7) เป็นโรคซึมเศร้าครั้งใดครั้งหนึ่งในชีวิต
- ความชุกชั่วชีวิตสูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 2.1
- หญิงสูงกว่าชาย
- อายุ 18-24 ปี สูงกว่าวัยอื่น
1.23 แสนคน เป็นไบโพลาร์ (ร้อยละ 0.2)
- ความชุกสูงสุดที่ภาคกลาง ร้อยละ 0.6
- หญิงสูงกว่าชาย
- ผู้สูงอายุ สูงกว่าวัยอื่น
ความผิดปกติทางอารมณ์ จำเป็นต้องรักษาและรักษาให้หายขาดได้ เมื่อรู้สึกเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ สามารถโทรปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
“เครียดได้ คลายเป็น” วิธีคลายอารมณ์จากความเครียด
กรมสุขภาพจิตชวนสำรวจความเครียดของตนเองจากสัญญาณเตือนความเครียด สำรวจความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และความผิดปกติทางพฤติกรรมและแนะวิธีจัดการความเครียด เครียดได้ คลายเป็น
- หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย จิตใจและพฤติกรรม
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยการฝึกลมหายใจ นั่งสมาธิ
- สร้างบรรยากาศโต๊ะทำงานให้น่าดู
- ทำกิจกรรมที่ชอบเล่นเช่น ออกกำลังกาย เล่นดนตรี เล่นกีฬา
- หาวิธีแก้ไขปัญหานั้นโดยเร็ว
- ฝึกทักษะการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพ
- ปรับทัศนคติให้คิดบวก
- ชวนพูดคุยคลายความทุกข์
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323
แบบประเมินความเครียด (ST5)
หากรู้สึกเครียด ท้อแท้ เบื่อหน่าย ซึมเศร้าหรืออาจมีความคิดอยากทำร้ายตนเองมาเช็คสุขภาพใจ ประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น MENTAL HEALTH CHECK IN เพื่อเช็คสุขภาพใจว่าความเครียดอยู่ในระดับใดและความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ได้ที่ www.checkin.dmh.go.th
ที่มา สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต BMHA DMH , กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข