เปิดประวัติ พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อนร่วมรุ่นประธานองคมนตรี

Home » เปิดประวัติ พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อนร่วมรุ่นประธานองคมนตรี
เปิดประวัติ พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อนร่วมรุ่นประธานองคมนตรี

วันที่ 20 มกราคม 2567 รายงานข่าวจาก โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อเวลา 13.10 น.

  • สิ้น “บิ๊กเภา” อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสียชีวิตอย่างสงบ วัย 83 ปี

ประวัติ พล.อ.สำเภา ชูศรี

พล.อ.สำเภา ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมรสกับคุณหญิงธนวันต์ ชูศรี (สกุลเดิม วิไลจิตต์) มีบุตรธิดา 2 คน คือ น.ส.ณัฐวดี และนายสำคัญ ชูศรี มีหลานทั้งหมด 4 คน

พล.อ.สำเภา เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 จปร.12 เหล่าทหารปืนใหญ่ เพื่อนร่วมรุ่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเป็น อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ด้านการศึกษา

  • พ.ศ. 2500 – โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. 2501 – โรงเรียนเตรียมทหาร
  • พ.ศ. 2503 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2504 – โรงเรียนนายร้อยแซ็งซีร์ (Saint Cyr) กองทัพบกประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี) , โรงเรียนภาษาฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี) ,โรงเรียนทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 1 ปี)
  • พ.ศ. 2513 – โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารปืนใหญ่รุ่นที่ 13
  • พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 51
  • พ.ศ. 2527 – กรมยุทธศึกษาทหารบก หลักสูตรเตรียมการสำหรับผู้บังคับหน่วย รุ่นที่ 1/27
  • พ.ศ. 2536 – วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6

ตำแหน่งรับราชการ

  • พ.ศ. 2508 – ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2509 – ผู้บังคับหมวดสื่อสาร กองร้อยบังคับการและบริการ
  • พ.ศ. 2513 – นายทหารคนสนิท ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2514 – ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2514 – นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2516 – รองผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2520 – หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  • พ.ศ. 2523 – ผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2525 – รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2525 – รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2527 – ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2531 – รองผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  • พ.ศ. 2533 – ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  • พ.ศ. 2535 – ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
  • พ.ศ. 2539 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2541 – รองผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2542 – รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2543 – ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
  • พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)
  • พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)
  • พ.ศ. 2512 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
  • พ.ศ. 2519 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ