เปิดความสำคัญ อุทยานแห่งชาติทับลาน กับการเพิกถอน ที่ได้ไม่คุ้มเสีย!?

Home » เปิดความสำคัญ อุทยานแห่งชาติทับลาน กับการเพิกถอน ที่ได้ไม่คุ้มเสีย!?

save ทับลาน -ปก-min

ชาวเน็ตแห่ติด #Saveทับลาน อุทยานแห่งชาติ เปิดรับฟังความคิดเห็น คัดค้านการเฉือน ป่าทับลาน กว่า 2.6 แสนไร่ เป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

จากกรณี อุทยานแห่งชาติทับลาน เปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการปรับปรุงแนวเขต โดยระบุว่า “กรมอุทยานฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการเพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจาการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 2567”

ล่าสุด มีรายงานว่า กระแสในโลกออนไลน์ได้มีการติดแฮชแท็ก #SAVEทับลาน กันในวงกว้างชาวเน็ตออกมาแสดงความ รวมถึงเพจดังต่างๆก็ออกมาพูดถึงเรื่องนี้

save-ทับลาน-5-min

ในขณะที่ เพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ออกเปิดเผย ผลกระทบป่าทับลาน ที่จะเกิดภายหลังหากพื้นที่กว่า 2.6 แสนไร่หายไป โดยระบุว่า “เปิด 6 ผลกระทบ หากมีการเพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน กว่า 265,000 ไร่”

  • บิ๊กโจ๊ก ปฏิเสธ! ปม บุคคลที่สามเรียกรับเงิน 10 ล้าน แลก แฉ ผบ.ตร.
  • มือไม้อ่อน! เน็ตไอดอลสาว ไหว้สวย ขอโทษสังคม เจอกระแสดราม่า ไฟไหม้เยาวราช
  • ‘บิ๊กต่อ’ ดอดเข้าทำเนียบ พบนายกฯ คาดหารือ หลัง ‘บิ๊กโจ๊ก’ ฟ้อง ม.157

1. หากใช้เส้นแนวเขตสำรวจอุทยานแห่งชาติทับลาน ปี 2543 ตามมติ ครม. เป็นแนวเขตทับลาน อช.ทับลาน จะเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกว่า 164,960 ไร่ ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
2. กระทบต่อรูปคดีที่กล่าวโทษดำเนินคดีไว้แล้วตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นนายทุน/ผู้ครอบครองรายใหม่ 470 ราย และเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ 23 ราย เนื้อที่กว่า 11,083-3-20 ไร่
3. เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนให้มีการเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนมือเพื่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศเพิ่มมากขึ้น
4. ลดคุณค่าความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ: ผืนป่าแห่งนี้เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบ และเป็นพื้นที่ความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง
5. เปิดโอกาสให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขุด ถม อัด ตัดไม้ ทำลายสภาพพืชพรรณบริเวณนั้น ผิวดินขาดสิ่งปกคลุมในการรักษาความชุ่มชื้น และช่วยดูดซึมน้ำ จนส่งผลต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติและอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันในบริเวณพื้นที่ราบทางตอนล่างตอนช่วงฤดูฝน
6. แหล่งที่อยู่อาศัย หากิน หรือเส้นทางอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า เนื่องจากกิจกรรมมนุษย์เข้าไปรบกวนสัตว์ป่าตามแนวเขตเกินความสามารถในการควบคุมในพื้นที่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ