เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาได้มี ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยกฎหมายดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน ทำให้คนทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่กันได้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
มีข้อกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังนี้
(1) การหมั้น-การสมรส กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เป็น ชาย-หญิง ส่วนกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นจะเป็น บุคคล-บุคคล
(2) อายุขั้นต่ำที่สามารถทำการหมั้น-การสมรสได้ (กรณีหมั้น/สมรสขณะอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เป็น 17 ปี ส่วนกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นจะเป็น 18 ปี
(3) สมรสกับคนต่างชาติโดยใช้กฎหมายไทย กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมนั้นทำได้เฉพาะคู่สมรส ชาย-หญิง ส่วนกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นสามารถทำได้
(4) การรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เหมือนกันกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
(5) สิทธิในการรับมรดกคู่สมรสในฐานะทายาทโดยธรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เหมือนกันกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
(6) สิทธิในการใช้นามสกุลคู่สมรส กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เหมือนกันกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
(7) การให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาลกรณีคู่สมรสอยู่ในสภาวะให้ความยินยอมไม่ได้ นั้นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เหมือนกันกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
(8) สิทธิประโยชน์ในทางภาษี เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม เหมือนกันกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
- ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ใน 120 วัน
- แซะแรง! คนเกาหลีใต้ เมนต์เหยียด กฎหมายสมรสเท่าเทียม ของประเทศไทย
- ชัชชาติ! สั่ง ปลัดปรับแก้ ระเบียบ กทม. สอดคล้อง กฎหมายสมรสเท่าเทียม
คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมอาจไม่ได้สิทธินั้นในทันที โดยในกฎหมายสมรสเท่าเทียมกำหนดให้ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามกฎหมายแต่ละฉบับนั้น ดำเนินการทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบที่กำหนดเรื่องสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมายของสามี-ภริยา และเสนอผลการทบทวน หากเห็นว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมก็ต้องเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 180 วันนับแต่วันที่ป.พ.พ. แก้ไขใหม่บังคับใช้ เพื่อแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป