เบี้ยผู้สูงอายุ เช็กด่วนมีหลักเกณฑ์อะไร มีผลบังคับใช้แล้วตอนนี้

Home » เบี้ยผู้สูงอายุ เช็กด่วนมีหลักเกณฑ์อะไร มีผลบังคับใช้แล้วตอนนี้

เบี้ยผู้สูงอายุ

เบี้ยผู้สูงอายุ เช็กด่วนเพื่อรักษาสิทธิ มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง หลังกระทรวงมหาดไทยปรับฉบับ 2566 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 12 ส.ค. 66

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระเบียบดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.2566)

เบี้ยงผู้สูงอายุ-2

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงิน เบี้ยผู้สูงอายุ

ข้อ 6 ผู้มีสิทธิจะได้รับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
4. เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

  • ไผ่ ลิกค์ หาย บิ๊กโจ๊ก ลั่น ตั้งแต่โพสต์ ยังไม่มีการติดต่อให้ข้อมูล
  • เลือกตั้งซ่อม อบจ.ระยอง โดยถล่มเละ หลังโพสต์รูปผู้สมัครแค่พรรคเดียว
  • วิโรจน์ โวย! รบ.รักษาการ ‘ลักไก่’ เปลี่ยนเกณฑ์จ่าย ‘เบี้ยผู้สูงอายุ’

สาระสำคัญของระเบียบรับเงิน เบี้ยเลี้ยงเงินผู้สูงอายุ

ขณะที่ในหมวด 5 ข้อ 14 ระบุ สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบนี้ สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
1. ตาย
2. ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6 (ผู้มีสิทธิจะได้รับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ)
3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เบี้ยงผู้สูงอายุ-1

ทั้งนี้ ฐานข้อมูลของบัตรคนจน นั้นมีความมั่วอยู่พอสมควร มีคนจนถึง 46% ที่ไม่ได้รับบัตร ในขณะที่ 78% ของคนที่ถือบัตร เป็นคนที่ไม่ยากจนแต่อยากจน ข้อมูลตกหล่นมากมายแบบนี้ แล้วจะเอามาใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อย่างไร นอกจากนี้ ในมาตรา 11 (11) ของพ.ร.บ.ผู้สูงอายุ ได้กำหนดเอาไว้ว่า การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุจะต้องจ่ายเป็นรายเดือน โดยต้องจ่ายให้ทั่วถึง และเป็นธรรม นายวิโรจน์ กล่าว

อ่านประกาศ ฉบับเต็ม

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ