เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการรักษาโรคเบาหวาน

Home » เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานนั้นเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทยควบคู่กับโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดผิดปกติ โดยพบได้ถึง 8.9% ของประชากรในประเทศไทย [อ้างอิง 1] โดยโรคเบาหวานนั้นสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ตามสาเหตุการเกิดได้แก่

1.โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้อย่างเหมาะสม ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ มักเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด มักต้องทำการรักษาด้วยการให้ฉีดฮอร์โมนอินซูลินทดแทนต่อเนื่อง
2.โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดจากภาวะเนื้อเยื่อต่างๆไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล) เป็นจำนวนมากอย่างยาวนาน ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆเกิดอาการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเริ่มการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกิน ไปจนถึงการใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และบางส่วนที่ต้องใช้การให้ฉีดฮอร์โมนอินซูลินทดแทนต่อเนื่อง
3.โรคเบาหวานในคนท้อง เป็นโรคที่ถูกกระตุ้นด้วยการตั้งครรภ์จากหลายๆสาเหตุส่งผลให้เกิดการดื้อฮอร์โมนอินซูลินเกิดขึ้น โดยมักตรวจพบได้ตั้งแต่การฝากครรภ์ช่วยไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ซึ่งส่วนใหญ่มักหายไปหลังคลอด

การรักษาโรคเบาหวานนั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาอย่างยาวนาน ที่ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยและอวัยวะอื่นๆโดยทำลายไปเช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะไตเสื่อม จอตาเสื่อม ไปจนถึงเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมจนไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกที่เท้าได้จนนำไปสู่แผลที่เท้าเรื้อรัง ซึ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 50% [อ้างอิง 1,2]

โดยการรักษาปัจจุบันนั้น [อ้างอิง 1] จะเริ่มจากการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารก่อนที่จะเริ่มใช้ยากินกลุ่มต่างๆ และการฉีดฮอร์โมนอินซูลินทดแทน ซึ่งแนวทางการรักษาของโรคเบาหวานนั้นมีการพัฒนาตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังคงมีความพยายามที่จะพัฒนาแนวทางการรักษาโรคเบาหวานแบบใหม่ๆออกมาตลอดเวลาเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานเช่น

1.นาโนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาแนวทางการให้ฮอร์โมนอินซูลินจากแต่เดิมที่ต้องอยู่ในรูปการฉีดเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มาเป็นผ่านทางอนุภาคระดับนาโนทำให้สามารถให้ฮอร์โมนผ่านช่องทางอื่นได้เช่นทางจมูก หรือแผ่นแปะใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดฮอร์โมนเข้าทางชั้นไขมันใต้ผิวหนัง [อ้างอิง 3,4] หรือการใช้เครื่องติดตามระดับน้ำตาลแบบ Real time ให้การติดตามระดับน้ำตาลสม่ำเสมอมากขึ้น [อ้างอิง 3]

2.พันธุกรรมบำบัด (Gene Therapy) เป็นการรักษาโดยการปลูกถ่ายสารพันธุกรรมต่างๆเข้าไปในร่างกายเพื่อให้สามารถผลิตสารที่เราต้องการได้ เช่นรหัสพันธุกรรมให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินขึ้นมาใหม่จากเซลล์อื่นที่ไม่ใช่เซลล์ตับอ่อน หรือผลิตสารลดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นต้น [อ้างอิง 3]

3.สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด เนื่องจากโรคเบาหวานนั้นมีพยาธิสภาพอย่างหนึ่งคือการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้อย่างเหมาะสม การรักษาด้วยสเต็มเซลล์นั้นเข้ามามีบทบาทในแง่การฟื้นฟูและทดแทนเซลล์ตับอ่อนที่ผิดปกติเหล่านั้นให้กลับมาสร้างฮอร์โมนได้อีกครั้ง โดยมีการศึกษาหลายฉบับที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้ฮอร์โมนอินซูลินแบบฉีดที่ลดลงในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ [อ้างอิง 3,5,6] ซึ่งการรักษาโรคเบาหวานด้วยสเต็มเซลล์มีการศึกษาทั้งการใช้สเต็มเซลล์จากหลายแหล่งที่มาทั้งสเต็มเซลล์จากไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อจากเนื้อเยื่อไขมัน ล้วนให้ผลลัพธ์ไปในทางเดียวกัน

(ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการรักษาด้วยสเต็มเซลล์: https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-6-heal)

โดนสรุปแนวทางการรักษาเบาหวานที่คิดค้นกันขึ้นมาใหม่นั้นเพื่อเพิ่มการตอบสนอง ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและครอบครัวให้ดีขึ้นทั้งสิ้น บางวิธียังอยู่ในขั้นงานวิจัย แต่หลายวิธีก็เริ่มมีการทดลองในผู้ป่วยแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรรับการรักษาขั้นต้นและปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตควบคู่ไปด้วยเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ยั่งยืน

[Advertorial]

อ้างอิง
1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. [Online]. 2017. Available at: https://www.dmthai.org/attachments/article/443/guideline-diabetes-care-2017.pdf. [August 2021
2. Rowley WR, Bezold C, Arikan Y, Byrne E, Krohe S. Diabetes 2030: insights from yesterday, today, and future trends. Population health management. 2017 Feb 1;20(1):6-12.
3. Tiwari P. Recent trends in therapeutic approaches for diabetes management: a comprehensive update. Journal of diabetes research. 2015 Aug;2015.
4. Mo R, Jiang T, Di J, Tai W, Gu Z. Emerging micro-and nanotechnology based synthetic approaches for insulin delivery. Chemical society reviews. 2014;43(10):3595-629.

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ