เตือนแล้วนะ 2 สิ่งนี้ถือเป็น “ถ้ำพิษ” ในห้องครัว หากไม่ทำความสะอาดให้ดี จะพาความเจ็บป่วยมาสู่ร่างกายทั้งครอบครัวได้
อุปกรณ์ในครัวบางชิ้นที่เราใช้ทุกวันอาจกลายเป็น “ที่ซ่อน” ของแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราไม่ทำความสะอาดอย่างเหมาะสมและเปลี่ยนเป็นประจำ จากจำนวนเครื่องใช้ในครัวทั้งหมด มีสิ่งของอยู่ 2 ชิ้น ที่ทุกครอบครัวใช้ทุกวัน ซึ่งหากละเลยทำความสะอาดไม่ดี ยิ่งใช้เป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากมาย
1. เขียง
เขียงเป็นอุปกรณ์ครัวทั่วไปที่มีอยู่ทุกครัวเรือน แต่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษ หากทำความสะอาดและใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง
จากการศึกษาพบว่า เขียงมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายมากกว่าฝารองนั่งชักโครกถึง 200 เท่า แบคทีเรียบางชนิดที่พบในเขียงได้แก่ เชื้อซัลโมเนลลา อีโคไล และแคมไพโลแบคเตอร์ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งของการปนเปื้อนข้ามของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอีกด้วย ดังนั้น เน้นย้ำว่าควรใช้เขียงแยกสำหรับอาหารดิบและอาหารปรุงสุก
ควรเปลี่ยนเขียงบ่อยแค่ไหน? เขียงไม้คุณภาพสูงมีอายุการใช้งาน 4-7 ปี ในขณะที่เขียงพลาสติกมีอายุการใช้งาน 1-5 ปีทั้งนี้ หากเขียงมีรอยขีดข่วนหรือรอยแตกร้าว ควรเปลี่ยนทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แบคทีเรียสะสมมากเกินไป
2.ฟองน้ำล้างจาน
ฟองน้ำล้างจานที่เราใช้ทุกวันเพื่อล้างจาน เขียง ฯลฯ ในความเป็นจริงแล้วเป็นสถานที่ที่แบคทีเรียแพร่กระจายมากกว่าพื้นผิวอื่นๆ ในบ้านเสียอีก ซึ่งข้อผิดพลาดที่หลายครอบครัวทำเป็นประจำคือ วางไว้บนชั้นวางทันทีหลังใช้งาน โดยไม่ทำให้แห้งซึ่งสิ่งนี้จะสร้างสภาวะให้แบคทีเรียเติบโตต่อไป
นักวิจัยพบแบคทีเรีย 362 สายพันธุ์ในฟองน้ำ และแบคทีเรีย 45 พันล้านตัวต่อตารางเซนติเมตร อุปกรณ์ในครัวชิ้นนี้ประกอบด้วยแบคทีเรียหลายชนิด เช่น แคมไพโลแบคเตอร์ ซัลโมเนลลา สตาฟิโลคอคคัส อีโคไล และลิสทีเรีย แบคทีเรียทั้งหมดเหล่านี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้และผิวหนัง ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรง
เคล็ดลับการใช้ฟองน้ำล้างจานอย่างถูกวิธีคือ ใช้แยกสำหรับสิ่งของต่างๆ เช่น ล้างจานใส่อาหาร แยกกับเขียงหั่นเนื้อดิบจากนั้นทำให้แห้งและเก็บไว้ในที่แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง และสุดท้ายคือต้องเปลี่ยนทุก 1-2 สัปดาห์
ทั้งนี้ นอกเหนือจาก 2 รายการข้างต้นแล้ว ควรทำความสะอาดทุกอย่างในครัวเป็นระยะๆ เพื่อจำกัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรค
- ฝาประตูไมโครเวฟ หลังใช้งานแล้วควร “ปิด” หรือ “เปิด” เรื่องนี้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด!
- รู้หรือไม่? มีวิธีแยก “น้ำแข็ง” ก้อนไหนทำมาจากน้ำต้ม-น้ำกรอง ดูด้วยตาเปล่าก็รู้ทันที!