ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจ ฝนตก หนักทำให้เกิดปัญหา น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ ไม่ใช่เพียงแต่ปัญหา น้ำท่วม ที่เกิดขึ้น แต่ส่งผลให้ถนนลื่นจนเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาที่ตามมาคือรถติด ในบางคนอาจเลือกที่จะลงรถ หรือจอดรถทิ้งไว้ และเดินลุยน้ำแทน แต่คุณรู้หรือไม่! น้ำที่ท่วมขังตามท้องถนนมีอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก
- หยุดพฤติกรรม ‘Cyberbullying’ ปัญหาใหญ่ที่คุ้นเคย แต่ไม่ควรคุ้นชิน
- เทคนิค ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างปลอดภัย หากต้องลุยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- 5 วิธีเช็คน้ำท่วม กทม. แบบเรียลไทม์ พื้นที่ไหนฝนตก น้ำท่วม ห้ามผ่านรู้ไว
วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) จะมาให้ความรู้กับทุกคน เพื่อที่จะได้ระมัดระวัง โรคติดต่อและอันตรายที่มาจากน้ำท่วม พร้อมบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
โรคติดต่อและอันตรายที่มาจากน้ำท่วม
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เนื่องจากฤดูฝนอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมาก ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี หากถูกฝนก็มีโอกาสเจ็บป่วย มีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ
อาการสำคัญ
- ไข้
- ไอ
- เจ็บคอ
- คัดจมูก
- มีน้ำมูก
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามตัว
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
การป้องกัน
- ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
- ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น
- เช็ดตัวให้แห้ง
- หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
- ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
- ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำ และสบู่
โรคระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่รับเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นเข้าไป ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ
อาการสำคัญ
- ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด
- ปวดท้อง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- มีไข้
- ปวดเมื่อยตามตัว
- เบื่ออาหาร
- ตัวเหลือง
- ตาเหลือง
การป้องกัน
- ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
- ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ
- ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ
โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)
เป็นโรคที่พบระบาดในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อก่อนโรคฉี่หนู ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็ยพาหะ เช่น หนู หมู วัว ควาย หมา เป็นต้น
อาการสำคัญ
- ไข้สูงฉับพลัน
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง
- อาจมีอาการตาแดง
- มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
- ไอมีเลือดปน
- ตัวเหลือง
- ตาเหลือง
- ปัสสาวะน้อย
- ซึม
- สับสน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
- ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
- รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน
โรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มักพบในคนที่ต้องลุยน้ำและแช่น้ำเป็นเวลานาน บริเวณเท้าจึงมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการเท้าเปื่อย ลอก คัน และแสบ และอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราตามมาได้
อาการโรคน้ำกัดเท้า
- เท้าเปื่อยและเป็นหนอง
- คันตามซอกนิ้วเท้า
- ผิวหนังลอกเป็นขุย
- มีผื่นผุพอง
- ผิวหนังอักเสบบวมแดง
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
- ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
- รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน
โรคตาแดง
เนื่องจากไวรัสนี้สามารถปนเปื้อนมากับแหล่งน้ำและน้ำสกปรก น้ำท่วมขังได้ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นโรคระบาดที่เกิดตามหลังน้ำท่วม และเนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้มีความจำเป็นที่คนต้องย้ายที่อยู่อาศัยมาอยู่รวม มีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด มีการใช้ของร่วมกัน กันทำให้เกิดการกระจาย และแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ง่าย
อาการสำคัญ
- ตาแดง
- ระคายเคืองตา
- น้ำตาไหล
- กลัวแสง
- มีขี้ตา
- หนังตาบวม
การป้องกัน
- ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
- ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
- แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่น ๆ
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค
อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย
นอกจากโรคต่างๆแล้ว ยังมีอุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่
- ไฟดูด
- จมน้ำ
- เหยียบของมีคม
อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม หนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน ได้แก่
- งู
- ตะขาบ
- แมงป่อง
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องลุยน้ำ เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบล้างเท้าด้วยสบู่ให้สะอาด เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY