เตือนภัย มิจฉาชีพSMS ปลอมตัวเป็นธนาคาร ถอนเงินสำเร็จ ระวัง! กดลิงก์สูญเงินทั้งบัญชี

Home » เตือนภัย มิจฉาชีพSMS ปลอมตัวเป็นธนาคาร ถอนเงินสำเร็จ ระวัง! กดลิงก์สูญเงินทั้งบัญชี

รูปแบบใหม่ มิจฉาชีพSMS ปลอมตัวเป็นธนาคาร ข้อความถอนเงินสำเร็จ อาจสูญเงิน กองปราบเตือนอย่ากด มีสติ อย่าตกใจ

น่ากลัวมากขึ้นไปทุกวัน ยากที่จะรู้ว่าจริงหรือหลอก กับวิธีการหลอกเอาเงินจากมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบใหม่ๆ และที่หลายๆคนเคยเจอคือ การปลอมตัวเป็นธนาคาร ส่งข้อความพร้อมแนปเอกสารให้ดูน่าเชื่อถือ อีกทั้งมีลิงก์ล้อตาล่อใจให้เรากดเข้าไปแต่นั่นคือวิธีการของมิจฉาชีพที่จะหลอดเอาข้อมูลทางการเงินของเรา ทำให้สูญเงินไปหลายบาท อาจถึงขั้นหมดบัญชี

นอกเสียจากการปลอมตัวเป็นธนาคารแล้ว มิจฉาชีพแบบนี้ยังมาในหลายรูปแบบ ทั้งแสดงความยินดีและได้รับรางวัลบ้างก็มาเป็นโฆษณาเชิญชวนเล่นเกมต่างๆ ข้อความแปลกๆเป็นภาษาอังกฤษพร้อมลิงก์ หรือ ข้อความที่บอกว่าเรากดเงินสำเร็จ ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความจากธนาคาร แม้กระทั่งข้อความที่บอกว่าเราได้รับวัคซีนโควิด-19ฟรี ซึ่งมีหลายรูปแบบที่มิจฉาชีพต่างสรรหามาล่อลวงเรา ลิงก์พวกนี้อาจจะนำเราไปถึงเว็บพนันต่างๆ หรือ เว็บกู้เงินนอกระบบ และหลอกเราด้วยคำโฆษณาต่างๆให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เพื่อเอาข้อมูลทางการเงินของเราไปใช้ต่อ

ในส่วนของการขโมยเงินจากในบัญชี อาจจะไม่ได้มาจากแค่การคลิกลิงก์อยากเดียว เนื่องจากแอปพลิเคชันของธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะมีการป้องกันและพัฒนาการแฮกหรือเข้าถึงระบบโดยมิชอบ เว้นเสียแต่มิจฉาชีพหลอกเป็นธนาคารและพูดคุยกับเราโดยตรง อ้างว่าบัญชีของเรามีปัญหา หลอกให้กรอกข้อมูลผ่านลิงก์ หรือ หลอกให้ใส่รหัส OTP ทำให้มิจฉาชีพ รู้ข้อมูลทุกอย่างจึงสามารถทำธุรกรรมถอนเงินจากบัญชีเราได้จนเงินหมดบัญชี


ขอบคุณถาพจาก กองปราบปราม

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รองโฆษก ตร.) เผยว่า ที่ผ่าน มีมาการกรณีสูญเงินจากSMS มิจฉาชีพ ทั้งมาเรียกร้องด้วยตัวเองและผ่านสื่อต่างๆก็มี และออกเตือนกว่า หากเจอข้อความแปลกๆที่ส่งมา ให้ตั้งสติ อย่าตกใจ ตรวจสอบชื่อผู้ส่งว่ามาจากไหน น่าเชื่อถือหรือไม่ หรือ ข้อความที่ปลอมตัวเป็นธนาคาร ให้โทรสอบถามกับทางธนาคารโดยตรง อย่ากดลิงก์และกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป

และยังระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการเชิงรุกในการสืบสวนจับกุมโดยศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.), ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.), บช.สอท., บก.ปอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลการปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อเราเจอข้อความแปลกๆแบบนี้ อย่างแรกคือเราต้องตั้งสติก่อน คิดไตร่ตรอกให้ดีกว่าข้อความนี้เป็นข้อมูลจริงหรือไม่ ตรวจสอบซื้อผู้ส่ง ดูเป็นข้อความน่าสงสัยหรือไม่ หากแนปลิงค์ หรือเอกสารน่าสงสัย อย่าหลงกดเข้าไป หากมาจากธนาคารให้โทรถามกับทางธนาคารโดยตรงจะดีกว่า

สามารถอัปเดทข่าวสารต่าง ทั้งไทยและต่างประเทศ ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ