เตือนด่วน!! 11 จังหวัด “น้ำท่วมฉับพลัน” น้ำป่า ช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66

Home » เตือนด่วน!! 11 จังหวัด “น้ำท่วมฉับพลัน” น้ำป่า ช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66
1น้ำท่วม

เตือนด่วน!! เฝ้าระวัง 11 จังหวัด ต่างไปนี้ “น้ำท่วมฉับพลัน” น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66

  • หนุ่มได้ยินเสียงคล้ายประทัดเลยวิ่งไปดู ก่อนเจอลุงพิการอยู่ในบ้านที่ไฟไหม้!
  • สายปิ้งย่างต้องรู้! กรมอนามัย แนะวิธีกิน “หมูกระทะ” ไกลมะเร็ง และไข้หูดับ
  • สาวสวยงง จอดรถในห้าง 2 ชม. เจอค่าจอดสุดโหด 6.5 ล้านบาท งานนี้หน้าแทบมืด

โดยประสานจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

น้ำท่วม

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวณ อีกทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น

ทำให้บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร นอกจากนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 1/2566 ลงวันที่ 4 มกราคม 2566 ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 6 –11 มกราคม 2566 ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

  • สุราษฎร์ธานี (อ.กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก พนม เวียงสระ เกาะสมุย เกาะพะงัน)
  • นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ท่าศาลา นบพิตำ ปากพนัง พรหมคีรี พระพรหม ร่อนพิบูลย์ ลานสกา สิชล)
  • พัทลุง (อ.เมืองฯ กงหรา เขาชัยสน ควนขนุน ตะโหมด บางแก้ว ปากพะยูน ป่าบอน ศรีนครินทร์)
  • สงขลา (อ.เมืองฯ กระแสสินธุ์ ควนเนียง จะนะ เทพา บางกล่ำ ระโนด รัตภูมิ หาดใหญ่)
  • ปัตตานี (อ.เมืองฯ กะพ้อ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ปะนาเระ มายอ ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก)
  • ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง)
  • นราธิวาส (อ.เมืองฯ จะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

  • เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ)
  • ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ)
  • ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม)
  • สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง เกาะสมุย เกาะพะงัน)
  • นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่)
  • สงขลา (อ.เมืองฯ ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร จะนะ เทพา)
  • ปัตตานี (อ.เมืองฯ หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ สายบุรี ไม้แก่น)
  • นราธิวาส (อ.เมืองฯ ตากใบ)

กอปภ.ก. จึงได้ประสาน 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยโดยติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักหรือฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ

  • สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำ น้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่
  • ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะห้ามลงเล่นน้ำและประกอบกิจกรรมทางทะเลด้วยความระมัดระวังในช่วงคลื่นลมแรง หากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นให้จังหวัดพิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) และนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนทันทีตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ขอให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นและปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ