เด็กสาวอัฟกันในภาพถ่ายดัง ย้ายถิ่นฐานไปอยู่อิตาลีหลังกลุ่มตาลิบันยึดครองประเทศ
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นภาพถ่าย “Afghan Girl” ผ่านหูผ่านตามาบ้าง ภาพใบหน้าของเด็กหญิงชาวอัฟกันที่มีนัยตาสีเขียวเคยถูกใช้เป็นปกของนิตยสารชื่อดัง National Geographic ในปีค.ศ. 1985 ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในนาม “Afghan Mona Lisa”
ชาร์บัต กูลา ปัจจุบันเธอมีอายุ 49 ปี รูปใบดังกล่าวถูกถ่ายในค่ายของผู้ลี้ภัยของชาวปากีสถานระหว่างการยึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต กูลาเล่าให้ฟังว่าตอนนั้นเธออายุได้เพียง 12 ปี เต็นท์ของเหล่าทหารถูกใช้เป็นห้องเรียนสำหรับเด็กๆ เธอต้องเสียพ่อและแม่ไปตั้งแต่อายุ 6 ขวบในระหว่างการรุกรานของสหภาพโซเวียต เมื่อกูลาเติบโตขึ้นเธอได้ออกจากค่ายผู้ลี้ภัยในช่วงต้นปี 90 เพื่อสร้างครอบครัวและอนาคตที่สดใสสำหรับลูกๆ
แต่แล้วในปีค.ศ. 2016 กูลากลับถูกเนรเทศออกจากประเทศปากีสถานให้กลับไปยังอัฟกานิสถานหลังจากที่เธอถูกกล่าวหาว่าใช้บัตรประจำตัวปลอม เธอถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนที่จะถูกส่งตัวอย่างไรก็ตาม ณ ตอนนั้น ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี แห่งอัฟกันก็ได้ตอนรับเธอกลับประเทศพร้อมสัญญาว่าจะมอบบ้านและช่วยค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูลูกๆของเธออีกด้วย
หลังจากที่เธอได้รับโฉนดบ้านหลังนั้น ส่งผลให้มีผู้หญิงชาวอัฟกันอีกกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ได้รับโอกาสมีบ้านเป็นของตนเอง เธอเล่าว่ามีผู้คนมากมายต่างเดินทางมายินดีและนำของขวัญมามอบให้ที่บ้านหลังใหม่ กูลาเปรียบเสมือนแรงบันดาลใจของผู้หญิงชาวอัฟกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ทว่า 5 ปีต่อมากูลาต้องย้ายที่อยู่อีกครั้ง โดยรัฐบาลอิตาลีได้ออกมายืนยันแล้วว่าชาร์บัต กูลาได้สถานะผู้ลี้ภัยจากประเทศอัฟกานิสถานจากการยึดอำนาจของกลุ่มตาลิบันในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
สตีฟ เมคเคอรี่ เจ้าของภาพถ่ายดังกล่าวได้ให้สัมภาษณ์ว่า รูปถ่ายของกูลามักจะกลับมาให้ผู้คนได้ชมครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นภาพถ่ายที่ผสมผสานความสวยงามของเด็กสาว ศักดิ์ศรีและความความแข็งแกร่งไว้ด้วยกัน
ที่มา insider.com