เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 67 ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม นาย วุฒิชัย รักชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม พร้อมด้วยที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม นาง ทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รักษาการ ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม ได้พบกับผู้ปกครองและนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาใหม่ และผู้ปกครองซึ่งได้เข้ามาขอความช่วยเหลือและหารือกันในการประสานกับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในตัวเมืองนครปฐม
เนื่องจากมีนักศึกษาหลายคนไม่มี ปพ. หรือใบรับรองการจบการศึกษาในระดับมัธยมต้นมายื่นในการเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ ซึ่งหลายคนประสบปัญหาผู้ปกครองยังไม่ได้ชำระเงินค่าเทอมส่วนที่เหลือ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นโดยมีประเด็นกับครูหน้าที่การเงินของโรงเรียนดังกล่าว แสดงท่าทีและใช้วาจาไม่เหมาะสมกับนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ได้เข้าไปเจรจาประสานงาน
โดยนางสาว รติรส (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 52 ปี เป็นผู้ปกครองของ น.ส. พลอย ปวช.ปี1 บอกทั้งน้ำตาว่า ลูกของตนเองได้เข้ามาเรียนที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวิทยาลัย โดยเมื่อมีการขอเอกสารจากครูที่ปรึกษาพบว่ายังมีการขาดใบ ปพ. ซึ่งเป็นใบสำคัญในการยืนยันจบการศึกษา ซึ่งลูกของตนเองได้มาบอกกับตนเองว่า จะต้องนำเอกสารดังกล่าวมายื่นกับวิทยาลัยแห่งนี้เพื่อให้มีหลักฐานในการเข้าศึกษาอย่างครบสมบูรณ์แบบ แต่ติดปัญหาที่ยังไม่ได้ชำระค่าเทอมส่วนเก่าให้ครบจึงได้ไปกับลูก เพื่อขอเอกสารดังกล่าวไปเป็นหลักฐาน แต่ปรากฏว่าได้พบกับอาจารย์ของโรงเรียนโรงเรียน แห่งนั้นซึ่งได้พบกับตนเองและบอกว่า “วิทยาลัยอาชีวะอีกแล้วหรือ” ซึ่งตนเองก็ตกใจว่าทำไมต้องมีการชักสีหน้าและแสดงวาจารุนแรงกับตนเองและลูก แต่พยายามจะติดต่อเข้าไปเพื่อที่จะขอผ่อนชำระหรือยืดเวลาในการจ่ายไปเป็นเดือนกรกฎาคมเนื่องจากไม่มีสภาพคล่องทางการเงินและตอนนี้เงินทองก็หายาก
นางสาว รติรส บอกว่าจุดประสงค์ของเราคือต้องการที่จะไปผ่อนชำระหรือยืนยันว่าจะมีการจ่ายเงินจริงแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมทางโรงเรียนดังกล่าวโดยเฉพาะครูคนนั้นถึงได้มีความไม่สบายใจและแสดงท่าทีไม่เหมาะสมออกมาจึงได้มาปรึกษากับทางผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะศึกษานครปฐมและที่ปรึกษาโดยในวันนี้ก็ได้เดินทางไปที่โรงเรียนดังกล่าวพร้อมกับที่ปรึกษาและก็พบว่าได้มีการถูกแสดงคำพูดและท่าทีจากครูคนดังกล่าว ซึ่งได้ทำกับที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเช่นกันเรื่องนี้จึงอยากจะถามว่าคนเป็นครูเหตุใดถึงมีอาการเช่นนี้และจะไม่มีความเอ็นดูกับนักศึกษาที่กำลังจะเรียนต่อได้อย่างไร
น.ส.คำมี (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 53 ปี ผู้ปกครองของนายโน่ นศ.ปี1 บอกว่า ตนเองเป็นคนทำงานรับจ้างรายวันได้เงินมาลาวัลย์ละ 300 กว่าบาทซึ่งก็ยอมรับว่ามีปัญหาในเรื่องของการจ่ายค่าเทอมที่ยังค้างค้างอยู่ราวประมาณ 8000 กว่าบาท ซึ่งก็ได้ประสบปัญหาว่าได้รับใบเอกสารดังกล่าวมายื่นเช่นกัน จึงได้ประสานเข้ามาที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมว่าจะขอหาทางช่วยเหลือเนื่องจากทางบ้านค่อนข้างมีไม่สะดวกสบาย โดยบุตรชายของตนเองเมื่อครั้งของช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเรียนอยู่ในชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งตอนนั้นมีการปิดโรงเรียนโดยจะต้องมีการใช้โทรศัพท์มือถือในการเรียน แต่ด้วยความยากจนตนเองไม่สามารถหาซื้อโทรศัพท์ให้ลูกได้ก็ไม่ได้เรียนไปเลยทั้งปี และใช้วิธีการสอบซ่อมและทำงานมาส่งอาจารย์แทน
ตอนนี้ย้ายมาเรียนที่วิทยาลัยอาชีวะแล้วเมื่อเข้าไปขอเอกสารเหมือนกันก็โดนถูกใช้คำดูถูก ว่า “อาชีวะอีกแล้วเหรอ” ตนเอง ไม่ทราบจะทำอย่างไรจึงได้กลับมาปรึกษาที่วิทยาลัยซึ่งวันนี้ ทางที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวะนครปฐม ซึ่งได้เดินทางไปเจรจาได้พูดคุยกันแต่ก็ไม่เป็นผลสุดท้ายก็ได้ควักเงินส่วนตัวเพื่อได้รับใบเอกสารดังกล่าวแต่เมื่อได้รับแล้วท่าทีของครูคนดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนไปและมีน้ำเสียงที่ดีขึ้น วันนี้ดีใจมากที่ลูกได้เอกสารมาเรียนเหมือนกับเด็กคนอื่น
นายวุฒิชัย รักชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะนครปฐม กล่าวว่า จากการตรวจสอบเอกสารของนักศึกษาใหม่หลายคนพบว่ามีใบเอกสาร ปพ ที่จำเป็นจะต้องมายื่นให้กับทางฝ่ายวิชาการในการเก็บเป็นหลักฐานส่งกรมอาชีวะ พบว่ามีนักศึกษาไม่น้อยกว่า 300 คน กำลังจะพ้นสภาพไม่ทราบว่าจะต้องใช้ใบ ปพ. มายื่นยืนยันแสดงเพียงแต่มีการใช้ใบ รบ 5 เทอมมายื่นเอาไว้จึงได้มีการหารือกับครูที่ปรึกษาว่าเกิดจากเหตุใด
ซึ่งพบว่าหลายคนยังไม่ได้ชำระค่าเทอมจากโรงเรียนเก่าจึงไม่ได้ใบดังกล่าวมาและได้เชิญที่ปรึกษาและรักษาการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมหารือในวันนี้ร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งถ้อยคำที่ว่า “อาชีวะอีกแล้วหรือ” ไม่น่าจะใช่ปัญหา เพราะวิทยาลัยของเราพยายามผลักดันและส่งเสริมให้เด็กได้เรียนหนังสือ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันเพื่อพูดคุยหาทางออกให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยทางวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ไม่ได้มีความ เข้มในเรื่องเอกสารดังกล่าวแต่จะทำอย่างไรให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาและจบออกไปมีอาชีพ ตามเป้าประสงค์ของวิทยาลัยและกรมอาชีวศึกษา
ขณะที่นาง ทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รักษาการ ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม ได้ชี้แจงให้ผู้ปกครองและนักศึกษาได้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการซึ่งตอนนี้ได้ทำการประสานงานกับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม เพื่อที่จะหารือและเจรจากับผู้อำนวยการของโรงเรียนดังกล่าวซึ่งในเรื่องของค่าใช้จ่ายหรือค่าเทอมน่าจะมีทางออกที่ชัดเจนมากกว่านี้ในการที่จำเป็นจะต้องใช้เงินทั้งหมดในการชำระให้กับทางโรงเรียนจึงจะได้รับใบเอกสารสำคัญ มาส่งให้กับสถาบันการศึกษาแห่งใหม่
สำหรับประเด็นดังกล่าวได้มีผู้ปกครองหลายคนแจ้งสื่อมวลชนให้ประสานงานแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหารายได้ในครัวเรือน โดยบางรายขอเลื่อนการชำระเงินไปก่อน บางรายขอใช้วิธีการผ่อนชำระ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงเจตนาไปยัง โรงเรียนแห่งนี้แล้วแต่ก็ได้รับคำตอบปฏิเสธเหมือนเช่นการดำเนินการที่ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวะต้องควักเงินส่วนตัวเพื่อให้ได้เอกสารสำหรับนักศึกษาที่เข้ามาพบกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวันนี้