เช็คด่วน! 8 วิธี ดูแลสัตว์เลี้ยงยังไงให้ ปลอดภัย จากน้ำท่วม ทั้งคน และสัตว์

Home » เช็คด่วน! 8 วิธี ดูแลสัตว์เลี้ยงยังไงให้ ปลอดภัย จากน้ำท่วม ทั้งคน และสัตว์

วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงตอนน้ำท่วม

คนเลี้ยงสัตว์ต้องอ่าน! อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผย 8 วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง ให้ปลอดภัยจากน้ำท่วม ทั้งผู้เลี้ยง และสัตว์เลี้ยง

จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุ ยางิ ทำให้ทางภาคเหนือ เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมสูง และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา บวกกับสถานการณ์ที่ตอนนี้ประเทศจีน ได้ปล่อยระบายน้ำออกจากเขื่อน จึงทำให้ในอีกหลายจังหวัดเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม

วันนี้ทาง ไบรท์ทีวี เอาวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงตอนน้ำท่วมมาแชร์ โดยทางกรม กรมปศุสัตว์ ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ในช่วงน้ำท่วม โดยนายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์  อธิบดีกรมปศุสัตว์ ห่วงใยประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว กระต่าย นก หนู และอื่นๆ ในช่วงที่ฝนตกชุก บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์เลี้ยงไม่สามารถออกไปอยู่ในพื้นที่อื่นๆ ได้ ดังนั้นประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง จึงควรปฏิบัติดังนี้

full-shot-woman-cute-dog-home-min
  • แอพดีบอกต่อ! Google Flood Hub เช็คเสี่ยงน้ำท่วมได้ล่วงหน้า 7 วัน
  • เตรียมเงินให้พร้อม! ดอนเมืองโทลล์เวย์ ปรับขึ้นราคา 5-10 บาท
  • เปิดครอบครัว “น้องหมูเด้ง” ฮิปโปแคระ ขวัญใจพี่เลี้ยงออนไลน์

(1) เพิ่มความระมัดระวังการถูกสัตว์กัดหรือข่วน หากถูกสัตว์กัด ข่วน ต้องล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใส่ยาเบทาดีน และรีบไปพบแพทย์ กรณีที่แพทย์ให้วัคซีนต้องไปรับให้ครบและตรงตามกําหนดนัด

(2) ทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ

(3) คอกสัตว์หรือเพิงพัก อุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์เลี้ยง ควรทําความสะอาด ด้วยผงซักฟอกตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจํา พร้อม ทั้งสวมถุงมือหรือถุงพลาสติกกันน้ำทุกครั้ง โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนําของฉลากอย่างระมัดระวัง

(4) ทั้งคนและสัตว์ ควรลดการสัมผัสกับสัตว์ภายนอกบ้าน

(5) เศษอาหารและอุจจาระของคนและของสัตว์เลี้ยง ต้องเก็บทิ้งให้เป็นที่อย่าปล่อยทิ้งให้เป็นแหล่งของแมลงวัน หนู หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งอาจนําเชื้อโรคเข้ามาสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้

(6) หากมีปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ สัตว์ป่วย สัตว์ใหญ่ตายหรือสัตว์ตายจํานวนมาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่มาดําเนินการ

(7) หากเป็นไปได้ควรแยกพื้นที่เลี้ยงสัตว์จากพื้นที่อยู่อาศัย หรือทำที่กั้นแยกชนิดสัตว์ไม่ให้ประปนกัน

(8) ไม่นําสัตว์ที่ป่วยตายมารับประทานเพราะอาจทําให้เชื้อแพร่กระจายและเจ็บป่วยได้

หากท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ