เช็กที่นี่! รวมชื่อครบ 105 สาขา Subway ที่ถูก "ยกเลิก" แต่ยังเปิดขาย สั่งออนไลน์ก็ไม่รอด

Home » เช็กที่นี่! รวมชื่อครบ 105 สาขา Subway ที่ถูก "ยกเลิก" แต่ยังเปิดขาย สั่งออนไลน์ก็ไม่รอด
เช็กที่นี่! รวมชื่อครบ 105 สาขา Subway ที่ถูก "ยกเลิก" แต่ยังเปิดขาย สั่งออนไลน์ก็ไม่รอด

เช็กก่อนกิน! ดราม่าคุณภาพ “Subway” บริษัทเปิดรายชื่อ 105 สาขา ที่ถูกยกเลิกแต่ยังเปิดอยู่ ชาวเน็ตตาลายบอกเหมือน “ผลักภาระให้ผู้บริโภค”

ถือเป็นข่าวใหญ่ที่น่าตกใจสำหรับผู้บริโภค หลังจากมีชาวเน็ตหลายคนออกมาบ่นถึงร้านชื่ออย่าง Subway ที่มีสาขาให้เห็นกันได้มากมาย ทั้งในประเด็นตัวคุณภาพของวัตถุดิบอาหารเอง และคุณภาพของส่วนอื่นๆ เช่น กระดาษห่อที่สีลอก หรือไม่มีพิมพ์ลาย Subway

ล่าสุดทางเพจ Subway Thailand ได้ตอบสนองต่อประเด็นดังกล่าว ระบุว่า เนื่องจากตอนนี้เราได้รับข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร , วัตถุดิบขาด, กระดาษห่อ ไม่มีพิมพ์ลาย Subway , กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ขนมปังไม่ใช่ของ Subway และ อื่น ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก

จากการตรวจสอบพบว่าลูกค้าไปใช้บริการจากร้าน Subway ที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ Franchise ไปตั้งแต่วันที่ 26 กค. 2567 ไปแล้ว เช่น Food generation สาขา CP ทาวเวอร์ สีลม , ปตท บางแสน ,ปตท สุขสวัสดิ์, เชลล์ ลาดพร้าว, ทองหล่อ, เชลล์ ท่าพระ, คาลเท็กซ์ ประชานุกูล, ดิ อัพ พระราม 3, บางจาก ราชพฤกษ์ และ อื่นๆ

ดังนั้น หากลูกค้าประสงค์ที่จะสั่งหรือซื้อ Subway สามารถสังเกตหน้าร้าน จะต้องมีเลขที่ร้านและ เครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise จะเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้ง อโวคาโด , มะกอก และ อื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของ Subway พร้อมกันนี้ บริษัทได้แนบรายชื่อสาขาที่เป็น ร้าน franchise ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง และ ร้านที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ แฟรนไชส์ มาพร้อมกันนี้

พร้อมทั้งย้ำด้วยว่า “บริษัทขอเรียนแจ้งลูกค้าทุกท่านทราบว่า ในส่วนของร้านค้าแฟรนไชส์ที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ และยังคงฝ่าฝืนดำเนินการเปิดร้านอยู่ นั้นทางบริษัทกำลังเร่งดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย”

ความคิดเห็นบางส่วนจากชาวเน็ต

“เราว่าเป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคค่ะ ตีความได้ว่า “เธอไปดูเอาเองละกันว่าร้านไหนจริงร้านไหนปลอม” เจ้าของลิขสิทธิ์ควรออกมา take action ค่ะ ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคไปดูเอง”

“ยกเลิก franchise แต่ดันปล่อยให้เปิดขายได้ภายใต้แบรนด์ แต่ให้ผู้บริโภคคอยสังเกตและดูสาขาเอาเอง…??? อีกหน่อยคงโบกมือลาอีกแบรนด์แน่นอน”

“เดี๋ยวนะ ยกเลิกแฟรนไชส์มันก้คือห้ามมีการขายภายใต้ชื่อแบรนด์ปะครับ ทำไมต้องผลักภาระให้ผู้บริโภค แถมจริงๆมันก็สร้างความเสียหายให้แบรนด์เองด้วย หรือผมเข้าใจอะไรผิด??? มันไม่เมกเซนส์เท่าไรนะ”

“แล้วในแอปสั่งอาหารล่ะคะ อันนี้ไม่มีในรายชื่อ franchise ที่ยังอยู่ เรากินประจำแถวบ้านค่ะ เพราะสาขาในปั๊มเยอะมากๆ ทำไมยังให้เปิดทั้งที่ประกาศว่า franchise มีสาขาเท่ารูปแรก”

“เราสั่งผ่านแอปสั่งอาหารค่า ถุงกับกระดาษห่อไม่มีลายซับเวย์ ซอสขาดหลายรายการ ผักก็ขาดหลายรายการ แฮมลูกทานก็มีแต่มัน ปกติลูกจะทานหมดชิ้นค่า ถ้าร้านที่หมดสัญญาควรเปลี่ยนชื่อมั้ยคะ ป้องกันความสับสน”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ