เฉลยแล้ว! ผลทดสอบ ชิ้นส่วนกระดูกบาร์โค้ด แท้จริงแล้วไม่ใช่กระดูก?

Home » เฉลยแล้ว! ผลทดสอบ ชิ้นส่วนกระดูกบาร์โค้ด แท้จริงแล้วไม่ใช่กระดูก?

อ.อ๊อด เฉลยแล้ว ผลทดสอบ ชิ้นส่วนกระดูกบาร์โค้ด แท้จริงแล้วไม่ใช่กระดูกกระโหลกของมนุษย์ เพราะมีซิลิกอนและออกซิเจนเป็นหลัก

จากกรณีที่มีชายคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต และครอบครัวได้ประกอบพิธีฌาปนกิจ หลังนำอัฐิออกมาจากเตากลับเจอชิ้นส่วนหนึ่งสีขาวคล้ายกระดูก อีกทั้งในวัตถุชิ้นนั้นยังมีตัวเลขมีบาร์โค้ด ปรากฎว่าตัวเลขที่อยู่บนชิ้นส่วนดังกล่าว เป็นตัวเลขวันเกิดและวันตายของผู้เสียชีวิต ทางครอบครัวจังปักใจเชื่อว่าน่าจะเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้เสียชีวิต

ภาพจาก FB : Weerachai Phutdhawong

ล่าสุดอ.อ๊อด หรือรองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ภาพและข้อความ ผลทดสอบของชิ้นส่วนกระดูกบาร์โค้ด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ระบุว่า ‘เฉลยแล้วนะครับกระดูกบาร์โค้ดไม่ใช่กระดูกแต่อย่างไร อาจารย์อ๊อดต้องขอบคุณบริษัทโคแอคซ์ กรุ๊ป ที่อนุญาตให้ใช้เครื่อง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุ (SEM/EDX)

กระดูกบาร์โค้ดมีองค์ประกอบของซิลิกอนและออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่องค์ประกอบหลักของกระดูกมนุษย์ และยืนยันด้วยเครื่องมือนี้ว่าไม่ใช่กระดูกจริง ๆ ครับ

เราได้ทดสอบเทียบกับตัวกระดูกจริงอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นกระดูกของผู้วายชนม์ที่อยู่ในเตาเผาศพเดียวกัน พบว่ากระดูกอีกชิ้นหนึ่งนั้นมีองค์ประกอบหลักของแคลเซี่ยมและออกซิเจนเป็นหลัก รวมถึงฟอสฟอรัสและมีเกล้อโซเดียมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่อยู่ในกระดูกจริง ๆ

ภาพจาก FB : Weerachai Phutdhawong
ภาพจาก FB : Weerachai Phutdhawong

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ