ปัญหาที่อยู่คนไทยมาช้านาน และดูเหมือนว่าจะจัดการได้ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย กับประเด็นการกั๊กที่จอดรถ ไม่ว่าจะเป็นหน้าบ้าน หน้าร้านอาหาร มักจะมีขวดน้ำ เก้าอี้ หรือ สิ่งกีดขวาว ที่นำมาว่างเพื่อไม่ให้รถนั้นจอดบริเวณนั้นได้ ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงมานานว่าสามารถทำได้หรือไม่
“กั๊กที่จอดรถริมถนน”
แต่รู่หรือไม่!!!! การกั๊กที่จอดรถริมถนน หรือวางสิ่งของบนทางเดินรถ โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าพนักงานจราจร อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 19, 48 วรรค 3 และ 57 ผู้ใดฝ่าฝืนกระทำผิดจะต้องถูกระวางโทษปรับเป็นเงินสูงสุดถึง 10,000 บาท ซึ่งถือเป็นอัตราโทษสูงกว่ากฎหมายจราจรส่วนใหญ่เสียอีก
อีกทั้งผู้ที่พบเหตุกระทำผิดสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักเทศกิจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560 โดยจะได้รับส่วนแบ่ง 50% ของค่าปรับ หรือสูงสุด 5,000 บาท หรือทางเว็บไซต์ สำนักเทศกิจ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เรื่องเข้าสู่ระบบ
ระบบฯ ได้รับเรื่องของผู้แจ้งความไว้แล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป - เริ่มดำเนินการ
อยู่ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่เกิดเหตุ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและออกตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ - อยู่ระหว่างการสืบหาตัวผู้กระทำผิดโดยประสานขนส่ง/สน.
เป็นกระบวนการการสืบหาตัวผู้กระทำผิด โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลทะเบียนรถของกรมการขนส่งทางบก หรือประสานไปยัง สน.ท้องที่ เพื่อดำเนินการออกหนังสือเชิญ เจ้าของหรือผู้ครองครองรถหรือผู้ซึ่งคาดว่ากระทำความผิดมาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้รับแจ้งเพื่อนำไปสู่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง - อยู่ระหว่างการสืบหาตัวผู้กระทำผิดโดยวิธีอื่นๆ
เป็นกรณีการสืบหาตัวผู้กระทำผิดจากพยานเอกสารหลักฐานต่างๆ เช่น ภาพถ่าย พยานบุคคล ทะเบียนราษฎร์ เพื่อดำเนินการออกหนังสือเชิญ ผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้รับแจ้งเพื่อนำไปสู่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง - อยู่ระหว่างเชิญตัวมาเพื่อเปรียบเทียบปรับหรือส่งฟ้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตัวว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดแล้วหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิด จึงมีหนังสือเชิญมาพบเพื่อเปรียบเทียบปรับ หรือให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้รับแจ้งเพื่อนำไปสู่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง - ส่งฟ้องร้องดำเนินคดี
เป็นกรณีไม่สามารถทำการเปรียบเทียบและปรับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากไม่พบตัวผู้กระทำผิด ผู้กระทำผิดปฏิเสธข้อกล่าวหา หรือผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิดไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด หรือไม่ยินยอมให้มีการเปรียบเทียบปรับหรือยินยอมเปรียบเทียบปรับแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด สำนักงานเขตจะมีหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนสน.ท้องที่ เพื่อดำเนินคดีต่อไป - ฟ้องร้องคดีถึงที่สุด
พนักสอบสวนเปรียบเทียบปรับ หรือพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งงดการสอบสวนหรือสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด - จำหน่ายเรื่อง
การจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ เนื่องจาก
1.เป็นเรื่องที่อยู่นอกเขตอำนาจของกรุงเทพมหานคร เช่น เกิดเหตุนอกเขตกรุงเทพมหานคร
2.กรณีไม่เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3.กรณีคดีอาญาระงับโดยผลของกฎหมายประกอบด้วยผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย คดีขาดอายุความ - ว่ากล่าวตักเตือน ม.44
เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งตักเตือนผู้กระทำความผิดหรือสั่งให้ผู้กระทำความผิดแก้ไขหรือขจัดความสกปรก หรือความไม่เป็นระเบียบหรือความไม่เรียบร้อยให้หมดไป หากผู้กระทำผิดเชื่อฟัง ไม่เป็นความผิด ตามมาตรา 44 (3) - สั่งให้แก้ไขปฏิบัติตามคดีเลิกกัน ม.46
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมผู้กระทำผิดแล้ว ได้แจ้งให้ผู้กระทำความผิดจัดการลบ ล้าง กวาด เก็บ ตกแต่ง ปรับปรุง สิ่งที่เป็นความผิดมิให้ปรากฏอีกต่อไป ถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมปฏิบัติตามให้คดีเป็นอันเลิกกัน ตามมาตรา 46 - เปรียบเทียบปรับ
กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จับกุมผู้กระทำผิด หรือกรณีผู้กระทำผิดมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วรับสารภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการเปรียบเทียบปรับตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2536 และผู้กระทำผิดชำระค่าปรับแล้ว
ขอบคุณข้อมูล – สำนักเทศกิจ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY