พิศวงไทยทอง หรือ พิศวงตานกฮูก พรรณไม้เกียรติประวัติไทย พบเฉพาะดอยหัวหมด ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
พิศวงไทยทองหรือพิศวงตานกฮูก เป็นพืชล้มลุกอาศัยรา มีขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 2 มม. เป็นพืชใบเดี่ยว เรียงเวียน เกลี้ยงสีขาว รูปสามเหลี่ยมแคปหรือรูปไข่ ลักษณะหน้าตาคล้ายนกฮูก ออกดอกช่วงปลายฤดูฝนเท่านั้น ลักษณะดอก สีเขียวอมน้ำเงิน กลีบรวมมี 6 กลีบ หลอดวงกลีบรวมรูปทรงคอลโท สูง 7.5-11 มม. เรียกได้ว่า เป็นพืชที่มีขนาดเล็กมาก
พรรณไม้ชนิดนี้ ถูกพบครั้งแรกโดย ดร.กนกอร สีม่วง นักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ นายสุชาติ จันทร์หอมหวล ช่างภาพอิสระ ต่อมารองศาสตราจารย์ ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดร. สมราน สุดดี นักวิจัยกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันตีพิมพ์เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ลงในวารสาร Phytotaxa
สำหรับพิศวงไทยทอง หรือ พิศวงตานกฮูก นั้น มีคำระบุชนิด คือ “thaithonggiana” ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นัก รองศาสตราจารย์ ดร.อบฉันท์ ไทยทอง อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปูชนียบุคคลของวงการพรรณไม้ของไทยตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ เก็บจากดอยหัวหมด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557
ด้วยลักษณะรูปร่างที่เล็ก น่ารัก คล้ายนกฮูก ทำให้พิศวงไทยทอง หรือ พิศวงตานกฮูก เป็นพืชพรรณที่น่าพิศวงสมชื่อ