อ่วม! กทม.-ปริมณฑล รับมือฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูง เตือนปชช. เตรียมรับมือ

Home » อ่วม! กทม.-ปริมณฑล รับมือฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูง เตือนปชช. เตรียมรับมือ

รับมืออีกครั้ง

เตรียมรับมือ! กทม.-ปริมณฑล พบมีปริมาณ ฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงขึ้น เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับไทยอยู่ที่ 12 จาก 120 เมืองทั่วโลก มีระดับสีส้ม

เมื่อใกล้เข้าช่วงฤดูหนาวประเทศไทยมักจะเจอค่า ฝุ่น PM จำนวนมาก ซึ่งทำให้เป็นอันตรายต่อระบบหายใจเป็นอย่างมาก จึงต้องสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 สวมกัน นอกจากนั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์ได้ และก่อให้เกิดการคันตามร่างกายและปวดแสบทั้งตัว ระคายเคืองผิวหนัง ผดผื่นขึ้นตามตัว ไปจนถึงก่อให้เกิดสิวที่ใบหน้าของเราอีกด้วย

ล่าสุด วันนี้ 25 ตุลาคม 2567 ทางเว็บไซต์ IQAir ได้จัดคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ โดยข้อมูลมีการจัดอันดับทั้งหมด 120 เมือง ซึ่งที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยนั้นถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 12 โดยมีค่าปริมาณฝุ่นอยู่ที่ 101 ซึ่งอยู่ในระดับสีสม ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ และผู้ป่วย

ฝุ่น
ฝุ่น2
  • อันตราย! ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 วิกฤต กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พุ่งสูงทะลุเพดาน
  • คนกทม.อ่วม ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเกินมาตรฐาน 16 พื้นที่ หลังฝนหยุดตก
  • โดนซ้ำ! แม่สาย จ.เชียงราย ปัญหาโคลน ยังไม่เสร็จ เจอ ฝุ่น กระหน่ำต่อ

ทางด้านของนาย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า เตือนเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 กทม.-ปริมณฑล พุ่งสูง 24-27 ต.ค.นี้ เตรียมมาตรการรับมือระยะยาวทั้งประเทศ ถึงต้นปี 2568 ขณะนี้ เริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาที่ฝุ่นละอองจะสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงได้จัดทำ “มาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568”

มาตรการฯ ปี 2568 จะขับเคลื่อนผ่านกลไกการบริหารจัดการ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภาคหรือข้ามเขตป่าหรือเขตปกครอง และระดับจังหวัด โดยการปฏิบัติการมีดังนี้

ฝุ่น3

1. จัดทำแผนที่เสี่ยงการเผา Risk Map แผนปฏิบัติการจัดการไฟป่าตามห้วงเวลา แผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง ข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเสี่ยงเผาและข้อมูลเกษตรกรรายจังหวัด

2. จัดการไฟในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ โดยตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด/จุดเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ชุดดับไฟป่า บริหารจัดการเชื้อเพลิง ประกาศจำกัดการเข้าพื้นที่ป่าและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชุมชนโดยไม่เผา รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมในที่ดินของรัฐ และมุ่งเน้นการเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

3. จัดการไฟในพื้นที่เกษตร โดยประกาศขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ไฟและบริหารจัดการไฟในพื้นที่เกษตรเท่าที่จำเป็นและมีการควบคุม ควบคุมอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงาน หากฝ่าฝืนถูกบังคับใช้กฎหมาย ตัดสิทธิความช่วยเหลือจากภาครัฐ ไม่ให้สิทธิหรือเพิกถอนสิทธิ ส.ป.ก./นิคมสหกรณ์ กับเกษตรกรที่ไม่ร่วมมือ รวมถึงช่วยเหลือเกษตรกรปรับรูปแบบการผลิต และออกมาตรการสิทธิและประโยชน์ให้เกษตรกรที่ไม่เผา

4. ควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง ออกประกาศห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าเขตเมืองช่วงวิกฤต สนับสนุนการเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ มีนโยบายปรับลดอัตราค่าโดยสารรถสาธารณะ เร่งรัดเปลี่ยนรถ ขสมก. เป็นรถไฟฟ้า ตรวจจับรถยนต์ควันดำ รถบรรทุก พื้นที่ก่อสร้าง ผู้ทำผิดวินัยจราจร โดยปรับสูงสุด ตรวจบังคับใช้กฎหมายโรงงานและสถานประกอบกิจการอย่างเข้มงวด ควบคุม/จับกุม ผู้ลักลอบเผาในเขตชุมชนและริมทาง

5. จัดการหมอกควันข้ามแดน ส่งเสริมการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรแบบไม่เผา จัดการหารือระดับรัฐมนตรีก่อนเริ่มฤดูหมอกควัน ตั้งศูนย์ข้อมูลและศูนย์บัญชาการเฝ้าระวัง ควบคุมและดับไฟ ในประเทศเพื่อนบ้าน

6. บริหารจัดการภาพรวม จะเร่งรัดการของบกลางสนับสนุน ให้สิทธิประโยชน์กับภาคเอกชน ยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย ประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ PM2.5 มีนโยบายการ Work From Home ดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มข้น ยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด พื้นที่เสี่ยงและช่วงเวลาวิกฤต

7. สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อาสาสมัคร สถาบันการศึกษา และชุมชน

และสำหรับการเตรียมรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันบูรณาการดำเนินงานตามมาตารการฯ โดยเฉพาะการควบคุมการระบายฝุ่นจากยานพาหนะ อุตสาหกรรม การเผาในพื้นที่ชุมชนและริมทาง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญ ทั้งในมิติการส่งเสริมและการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงเตรียมพร้อมมาตรการด้านสาธารณสุข การ Work From Home การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งเตือนให้กับพี่น้องประชาชน และขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4thai

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ