วันที่ 20 พ.ย. 66 มีความเคลื่อนไหวจาก ดร.แทนคุณ จิตต์อิสระ รักษาการประธานคณะกรรมการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคระหว่างเพศ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลถูกโห่ในงานการแปรอักษรฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรและมีกองเชียร์โชว์เสื้อและสื่อในข้อความว่า “อย่าเสือก!! เรื่องแปรอักษรของพวกกู “ มาชูต่อหน้าพิธา
ได้รับเสียงเชียร์เป็นอย่างมากเป็นไวรัลไปทั่วโซเชียลมีเดียว่านี่แค่ส่วนหนึ่งของวิบากกรรมที่พรรคก้าวไกลก่อขึ้นจนคนไทยที่รักสงบ รักชาติบ้านเมืองสิ้นสุดความอดทนและต่อต้านพวกที่ชอบต่อต้านล้มล้างประเพณีวัฒนธรรมอะไรดีๆเพื่อสนองปมด้อยของตนเองและคนพรรคนี้จะรับไม่ได้หากเห็นคนไทยมีความรักความสามัคคีกัน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้เทิดทูนจะต้องเข้ามาปั่นป่วนมาด้อยค่า แทรกสอดเพื่อสะท้อนปมด้อยในใจที่ไม่มีใครรัก
- วันลอยกระทง จุดพลุ – ปล่อยโคมลอย ไม่ขออนุญาติ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
- ช่วยกัน พบ หญิงใส่ชุดนักเรียนหน้าพัง โปรดแจ้ง เพื่อช่วยเหลือ-ขยายผล
- ภูมิธรรม ย้ำ! ก่อนปีใหม่ ได้ข้อสรุปแนวทางทำประชามติแก้ รธน.
เลวร้ายหนัก คือ การโกหกแม้กระทั่งอดีตตัวเอง เช่นกรณีของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เคยขึ้นแสตนเชียร์ แปรอักษรของกรุงเทพคริสเตียน 2 ครั้ง ตอนอายุ 11 ขวบสมัยเรียนเพราะเขาไปเรียนต่างประเทศช่วงนั้นหรืออย่างมากอยู่ถึงคือ ม.1 น่าจะอายุ13 ซึ่งเท่าที่ทราบว่าโรงเรียนจะให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคือ ม. 2 และ ม. 3 ร่วมกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคือ ม. 4 ได้มีหน้าที่แปรอักษรและมีน้อง ม. 1 คอยเป็นตัวสำรองสอดคล้องกับ รุ่นพี่จตุรมิตรซึ่งการออกมาแฉว่าเป็นไปไม่ได้ที่พิธาจะเคยแปรอักษร 2 ครั้ง ในช่วงที่ยังเรียนประถมอาจคาบเกี่ยว ม.1 เพราะจัด 2 ปีครั้ง ดังนั้นสิ่งที่พิธาสัมภาษณ์มาคือการ “โกหก” อีกรอบหนึ่ง
หลังจากที่เคยโกหก เกี่ยวกับการกลับมาร่วมงานศพ คุณพ่อของตนเอง ที่ทั้งสร้างสับสนและงุนงงว่ากลับมาทันไหม ขึ้นเครื่องบินกลับมาในฐานะอะไรกันแน่ ทำให้ตนสงสัยในเรื่องนี้และลองสืบค้นดูเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกอดีตตัวเองเพื่อการยอมรับ โดยตนไปหาความรู้ทางจิตวิทยา พบมีอาการหนึ่งที่เรียกว่า อาการหลงตัวเองแบบหลบใน หรือ Covert Narcissism คือ มีการแสดงออกที่หลบซ่อน เก็บอาการเก่ง คนอื่นดูไม่ค่อยออกว่าเขาเป็นคนหลงตัวเองโดยคนที่มีภาวะดังกล่าวเขาจะมีความกระหายการได้รับคำชม อยากได้รับการให้ความสำคัญจากคนอื่นตลอดเวลา
โดยจะยอมโกหก หรือพูดอะไรเกินจริง ทำในสิ่งตนเองก็ยังไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรลงไป เพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยตนไม่ได้ว่านายพิธา มีอาการดังกล่าวแต่รู้สึกเป็นห่วงจากใจจริง ว่าหากแม้ตัวเองยังโกหกตัวเองต่อหน้าผู้อื่นบ่อยครั้งอาจถลำลึกจนยากถอนตัวออกมาได้ ทั้งนี้อาจเกิดจาก “ติดกับดักความสำเร็จในอดีต” ตั้งแต่วัยรุ่นทำให้เสพติดสิ่งแหล่านี้จึงอยากแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อความสบายใจของแฟนด้อมต่อไป