อีลอน มัสก์ “เงียบกริบ” หลังผู้ใช้ทวิตเตอร์ 17 ล้านเสียงโหวตให้ลาออก
นิวยอร์กไทมส์ รายงานความคืบหน้าหลังจากนายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทวิตเตอร์ เปิดโหวตให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์เลือกว่าตนควรลาอออกจากตำแหน่งผู้บริหารทวิตเตอร์หรือไม่เมื่อวันอาทิตย์ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์มากกว่า 17 ล้านคน ร่วมโหวตและเสียงข้างมากที่ร้อยละ 57.5 เลือกให้นายมัสก์ลาออกจากตำแหน่ง โดยนายมัสก์โพสต์ตอบกลับทวีตว่า “ไม่มีใครต้องการงานที่สามารถรักษาทวิตเตอร์ให้คงอยู่ได้ และไม่มีผู้สืบทอด”
รายงานระบุว่าก่อนที่นายมัสก์จะเปิดโหวตล่าสุดนั้น ทวิตเตอร์ได้ประกาศข้อกำหนดใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานโปรโมตตัวเองผ่านการแชร์ลิงก์จากแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์นอกเหนือจากทวิตเตอร์ อย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และมาสโทดอน แต่ข้อกำหนดดังกล่าวถูกยกเลิกภายในวันเดียวกัน หลังจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ทวิตเตอร์ซึ่งนายมัสก์กล่าวว่า “จากนี้ไปจะมีการลงคะแนนเสียงสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญ ขอโทษด้วย จะไม่เกิดขึ้นอีก”
อย่างไรก็ตาม การกระทำล่าสุดของนายมัสก์กับทวิตเตอร์คือ “ฟางเส้นสุดท้าย” ของนายพอล เกรแฮม ผู้ก่อตั้งวายคอมบิเนเตอร์ บริษัทสตาร์ทอัพที่สนับสนุนนายมัสก์ ซึ่งทวีตเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า “ฉันยอมแพ้แล้ว คุณสามารถค้นหาลิงก์ไปยังโปรไฟล์ ในมาสโทดอนใหม่ของฉันได้บนเว็บไซต์ของฉัน เนื่องจากบัญชีทวิตเตอร์ของฉันถูกระงับชั่วคราว”
ก่อนหน้านี้นายมัสก์ทุ่มเงินซื้อกิจการทวิตเตอร์มูลค่าสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 1.4 ล้านล้านบาท) เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และมีการปรับลดพนักงานเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง รวมถึงรายได้จากโฆษณาลดลงเพิ่มค่าบริการสำหรับผู้ใช้งานทวิตเตอร์บลู ฟีเจอร์เครื่องหมายถูกสีฟ้าหรือบลูมาร์กตามหลังชื่อบัญชีสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ใน และนายมัสก์เลิกระงับบัญชีทวิตเตอร์ของผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทมส์ ซีเอ็นเอ็น และวอชิงตันดีซีโพสต์ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าแชร์ข้อมูลตำแหน่งเกี่ยวกับตัวเขา หลังจากที่สหภาพยุโรป (อียู) และสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าการระงับบัญชีถือเป็นการโจมตีเสรีภาพสื่อ