อียูจ่อตรึง “น้ำมันรัสเซีย” หลายฝ่ายหวั่น “ปูติน” ยัวะระงับส่งออก-ทำราคาพุ่งอีก

Home » อียูจ่อตรึง “น้ำมันรัสเซีย” หลายฝ่ายหวั่น “ปูติน” ยัวะระงับส่งออก-ทำราคาพุ่งอีก


อียูจ่อตรึง “น้ำมันรัสเซีย” หลายฝ่ายหวั่น “ปูติน” ยัวะระงับส่งออก-ทำราคาพุ่งอีก

อียูจ่อตรึง “น้ำมันรัสเซีย” หลายฝ่ายหวั่น “ปูติน” ยัวะระงับส่งออก-ทำราคาพุ่งอีก

วันที่ 2 ธ.ค. เอพีรายงานว่า สหภาพยุโรป (อียู) เตรียมตรึงราคาน้ำมันดิบของรัสเซียที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2,080 บาท) ต่อบาร์เรล เพื่อผลักดันให้รัสเซียส่งน้ำมันหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดโลก และต้องจำกัดรายได้ที่จะเป็นเงินทุนในการทำสงครามของ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียด้วย ขณะเดียวกันแหล่งข่าวทางการทูตระบุว่าชาติสมาชิกอียูกำลังรอการบรรลุข้อตกลงของโปแลนด์ที่พยายามตรึงราคาน้ำมันรัสเซียให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้

ข้อเสนอล่าสุดที่ได้รับการยืนยันจากผู้แทนทางการทูต 3 คนของอียู เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดเส้นตายการลดราคาน้ำมันในวันจันทร์ที่ 5 ธ.ค.ที่จะถึงนี้ โดยราคาน้ำมันดิบที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลนั้นใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบของรัสเซียในปัจจุบัน ซึ่งปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคา 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำมันรัสเซียในตลาดโลกกะทันหันจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

นอกจากนี้ยังถือเป็นส่วนลดครั้งใหญ่สำหรับราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบรนท์ (Brent) ซึ่งอยู่ที่ 87 ดอลาร์สหรัฐ (ราว 3,027 บาท) ต่อบาร์เรลเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ธ.ค. แต่ราคายังสูงพอที่จะกระตุ้นให้รัสเซียขายน้ำมันต่อเนื่อง แม้จะแสดงท่าทีไม่พอใจต่อข้อเสนอตรึงเพดานราคาน้ำมันก็ตาม

FILE PHOTO: A Russian state flag flies on the top of a diesel plant in the Yarakta Oil Field, owned by Irkutsk Oil Company (INK), in Irkutsk Region, Russia March 10, 2019. REUTERS/Vasily Fedosenko/File Photo

ทั้งนี้ น้ำมันเป็นรายได้หลักของรัสเซีย แม้จะมีมาตรการห้ามส่งออก คว่ำบาตร และอายัดทรัพย์สินของธนาคารกลางจากการก่อสงครามในยูเครน แต่เศรษฐกิจรัสเซียยังดำเนินต่อไปได้และสามารถส่งออกน้ำมันราว 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับความเสี่ยงในการตั้งเพดานราคาน้ำมันนั้นอาจส่งผลต่อการจัดหาน้ำมันทั่วโลก หากรัสเซียตอบโต้ด้วยการระงับการส่งออกน้ำมันก็จะทำให้ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีปูตินยืนกรานว่ารัสเซียจะไม่ขายน้ำมันต่ำกว่าเพดานราคาน้ำมัน และจะตอบโต้ประเทศต่างๆ ที่ใช้มาตรการนี้

นายโรบิน บรูคส์ หัวหน้านักเศรษศาสตร์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน สหรัฐ กล่าวว่า การตั้งเพดานราคาน้ำมันควรถูกนำมาใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4,175 บาท) ต่อบาร์เรล ก่อนลดลงอย่างต่อเนื่องและมาตรการดังกล่าวอาจไม่เป็นผลหากนำมาใช้ตอนนี้

ด้าน นายสตีฟ มนูชิน อดีตรัฐมนตรีคลังของสหรัฐ กล่าวว่า การกำหนดเพดานราคาน้ำมันสูงสุดไม่เพียงจะเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ยังเป็นข้อเสนอที่ไร้สาระ ส่วน นางราเชล เซียมบา ผู้ช่วยอาวุโสประจำศูนย์ความปลอดภัยใหม่ในสหรัฐ กล่าวว่า สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือรัสเซียระงับการส่งออกน้ำมันทั่วโลกซึ่งอาจส่งผลให้การส่งออกก๊าซธรรมชาติลดลงเช่นกัน ตอนนี้ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) กำลังเร่งการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นและเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป

FILE An oil tanker is moored at the Sheskharis complex, part of Chernomortransneft JSC, a subsidiary of Transneft PJSC, in Novorossiysk, Russia, Tuesday, Oct. 11, 2022, one of the largest facilities for oil and petroleum products in southern Russia. The European Union is edging closer to a $60-per-barrel price cap on Russian oil. It’s a highly anticipated and complex political and economic maneuver designed to keep Russian oil flowing into global markets while clamping down on President Vladimir Putin’s ability to fund his war in Ukraine. EU nations sought to push the cap across the finish line Thursday, Dec. 1, 2022 after Poland held out to get as low a figure as possible. (AP Photo, File)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ