อีกแล้ว! ศรีสุวรรณ ร้อง กรมประมง เหตุเอื้อนายทุน นำเข้า ปลาหมอคางดำ

Home » อีกแล้ว! ศรีสุวรรณ ร้อง กรมประมง เหตุเอื้อนายทุน นำเข้า ปลาหมอคางดำ

ศรีสุวรรณร้องกรมประมง.png

นายศรีสุวรรณ ฟ้องร้อง อธิบดีกรมประมง ฐาน ละเลยหน้าที่ ปล่อยนายทุนใหญ่นำ ปลาหมอคางดำ เข้าประเทศไทย จนแพร่ระบาดอย่างหนัก

วันนี้เวลา 10.00 น. ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนกรมประมง กรณีปล่อยให้นายทุนทำให้ปลาหมอคางดำแพร่ระบาดและทำลายสัตว์น้ำไปทั่วกว่า 25 จังหวัด

นายศรีสุวรรณได้ยื่นฟ้องอธิบดีกรมประมงในฐานะที่ 1 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) ในฐานะที่ 2 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะที่ 3 โดยกล่าวหาว่าทั้งสามฝ่ายใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบและละเลยหน้าที่ ปล่อยให้นายทุนใหญ่ได้นำปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามาในประเทศ จนเกิดการแพร่ระบาดไปทั่ว โดยไม่ดำเนินการเอาผิดผู้นำเข้าต้นตอของปัญหา และใช้เงินภาษีของประชาชนในการแก้ปัญหาแทน

ต้นเรื่องเกิดจากการที่กรมประมง โดยคณะกรรมการ IBC ซึ่งมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน อนุญาตให้บริษัททุนใหญ่นำเข้าปลาหมอคางดำจากประเทศกานาเมื่อปี 2553 เพื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ แต่ปลาชนิดนี้กลับแพร่ระบาดและทำลายสัตว์น้ำอย่างล้างผลาญไปทั่วกว่า 25 จังหวัดในประเทศไทย ทั้งในทะเล แหล่งน้ำกร่อย น้ำจืด น้ำเค็ม บ่อกุ้ง และบ่อปลาของชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาท ถือเป็น “อาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม” ที่รุนแรงที่สุด

ศรีสุวรรณฟ้องกรมประมง
  • เจ้าหญิงแห่งกาตาร์ ถูกขโมยกระเป๋า 11 ใบ บนรถไฟความเร็วสูงฝรั่งเศส
  • น่าเป็นห่วง! สถานการณ์น้ำท่วม หลายพื้นที่ เกษตรกรเสียหายหนัก
  • ชายมุสลิม อ้าง อัลเลาะห์ส่ง ปลาหมอคางดำ ลงมาทำให้น้ำสะอาด?!

กรมประมงรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่กลับเพิกเฉยในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยไม่ดำเนินการเอาผิดนายทุนใหญ่นำเข้าปลาดังกล่าว แต่กลับใช้เงินภาษีประเทศมาแก้ไขปัญหาหลายหมื่นล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม ม.97 กรมประมงสามารถฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสียหายได้ รวมถึงใช้ ป.อาญา ม.360 ประกอบ ม.56 ในการฟ้องศาลอาญาเอาผิดนายทุนใหญ่ได้ เพราะกฎหมายเขียนไว้ว่าผู้ใดทำให้ทรัพย์ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์เสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตั้งแต่ปี 2555 ที่เริ่มปรากฏการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ชาวประมงได้นำเรื่องไปร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ในปี 2560 แต่กรมประมงก็ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจนปลาหมอคางดำแพร่ระบาดจนสุดจะควบคุมได้แล้ว การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันเป็นเพียงการแก้ปลายเหตุ ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจึงขอความช่วยเหลือจากองค์กรรักชาติ รักแผ่นดินให้ช่วยดำเนินการ

องค์กรฯ จึงได้นำเรื่องไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลออกคำสั่งใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เอาผิดนายทุนต้นเหตุของปัญหา และให้รับผิดชอบต่อความเสียหายของชาวประมงทั้งหมด รวมถึงสั่งให้นายทุนใหญ่ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่สูญหายกลับมาให้ดังเดิม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ