"อีกา 3 ขา" โลโก้ของ "ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น" มีที่มาอย่างไร?

Home » "อีกา 3 ขา" โลโก้ของ "ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น" มีที่มาอย่างไร?
"อีกา 3 ขา" โลโก้ของ "ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น" มีที่มาอย่างไร?

ถ้าพูดถึง “ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น” นอกจากเสื้อสีน้ำเงินอันเป็นเอกลักษณ์ และฝีเท้าของผู้เล่นที่ยกระดับมาเป็นชาติชั้นนำของวงการลูกหนังอย่างเต็มตัวในรอบทศวรรษที่ผ่านมาแล้วนั้น

อีกหนึ่งสิ่งที่แฟนบอลหลายคนน่าจะนึกถึงทันทีเลยก็คือ “โลโก้” บนอกเสื้อที่เป็นรูป “อีกาสามขา” ที่ใช้กันมาจนเป็นภาพจำกันไปแล้ว

อีกา เกี่ยวอะไรกับชาติลูกหลานพระอาทิตย์อย่าง ญี่ปุ่น? และทำไมมันถึงมี 3 ขาด้วย? ตรงนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกท่านให้หายข้องใจ

gettyimages-2159790685-594x59สำหรับอีกาสามขาของญี่ปุ่นนี้ มีชื่อเรียกว่า “ยะตะกะระสุ” (Yatagarasu) แม้จะมี 3 ขา แต่ชื่อของมันแปลแล้วมีความหมายว่า “อีกาปีกยาว 3 คืบ” และแน่นอนว่ามันเป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นสัตว์ในตำนานปรัมปราของแดนปลาดิบ

ในความเชื่อตามศาสนาชินโต แผ่นดินถูกสรรสร้างขึ้นโดยเหล่าเทพเจ้าหรือ คามิ (Kami) ซึ่งเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพมากที่สุดก็คือเทพีอะมะเตระสุ (Amaterasu) ผู้เป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเทพีองค์นี้เองนี่ที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีความผูกพันกับดวงอาทิตย์ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในที่สุด
gettyimages-2170440255-594x59ตามตำนานบอกอีกว่า เทพีอะมะเตระสุ มีลูกหลานที่ต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นด้วย นั่นก็คือ จักรพรรดิจิมมุ (Jimmu) ทำให้จักรพรรดิญี่ปุ่นที่สืบเชื้อสายมาจนถึงยุคปัจจุบันก็คือผู้สืบทอดสายเลือดของเทพีอะมะเตระสุโดยตรงนั่นเอง

พงศาวดารประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่มีส่วนผสมของเรื่องปรัมปรา บันทึกไว้ว่า เมื่อราว 2,600 ปีก่อน จักรพรรดิจิมมุ ได้นำกองทัพจากเกาะคิวชูข้ามไปที่เกาะฮอนชู เพื่อพิชิตดินแดนตะวันออก และก่อตั้งราชวงศ์ขึ้นมา ซึ่งช่วงหนึ่งของการเดินทาง กองทัพของจักรพรรดิจิมมุยกทัพมาถึงเทือกเขาคิอิ แต่เทือกเขามีความสลับซับซ้อนมาก ทำให้กองทัพประสบปัญหาในการเคลื่อนพล
nara-the-first-emperor-of-japเทพีอะมะเตระสุ เห็นว่าลูกหลานกำลังลำบาก พระองค์จึงให้ อีกา 3 ขา หรือ ยะตะกะระสุ บินไปหา จักรพรรดิจิมมุ เพื่อบินนำทางให้กองทัพข้ามเทือกเขาคิอิและพิชิตดินแดนตะวันออกได้สำเร็จ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 660 ปีก่อนคริสตกาล พร้อมกับ จักรพรรดิจิมมุ สถาปนาราชวงศ์ยามาโตะ (Yamato) ปกครองแผ่นดินญี่ปุ่นนับตั้งแต่นั้น

จากผลงานชิ้นโบแดงของ ยาตะกะระสุ ครั้งนี้ ทำให้มันกลายเป็นสัตว์มงคล ถูกยกถือเป็นทูตสวรรค์ ทำให้ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นนำ ยะตะกะระสุ มาเป็นโลโก้ประจำทีมตั้งแต่ปี 1988 แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดโลโก้มาแล้วนับ 10 ครั้ง แต่เจ้า ยะตะกะระสุ ก็ยังอยู่บนหน้าอกเสื้อแข้งซามูไรมาโดยตลอด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ