โควิด 19 : อาฟเตอร์ช็อคกำลังมา สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ติดเชื้อเข้าโรงพยาบาลกว่า 4,000 ราย กรมควมคุบโรค เตือน กันยามาแน่
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด 19 ในประเทศไทยในขณะนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ในหลักพันต่อวัน และผู้เสียชีวิตหลักสิบต่อวัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข หารือเตรียมความพร้อมการเดินหน้า “โควิด” สู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย ด้วยแนวคิด Health for Wealth เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากกว่า 60% เฝ้าระวังการระบาดเป็นกลุ่มก้อน
ล่าสุด 05 ก.ค. 65 เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูล เนื่องจาก กรมควบคุมโรค ออกมาเตือนภัย โควิด 19 อาจกลับมาอีกระลอก หลัง สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 แพร่กระจายไปทั่วโลก
นั่น … เรียก ‘อาฟเตอร์ช็อค’
…กรมควบคุมโรค ส่งสัญญาณเตือน โควิด ‘ขาขึ้น’ เวฟเล็กๆ ใหม่ กำลังเข้าสู่ ‘อาฟเตอร์ช็อก’ คาดพีค กันยายนนี้ ติดเชื้อเข้า รพ.วันละ 4 พันราย ย้ำอย่าเพิ่งผ่อนหน้ากาก
วานนี้ วันที่ 4 ก.ค.65 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด 19 ว่า สถานการณ์โควิดทั่วโลกหลายประเทศพบรายงานเพิ่มขึ้น เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย บางประเทศรายงานเสียชีวิตต่อเนื่อง ส่วนสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 พบเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ เช่น BA.4 แอฟริกาใต้ พบ 64% ส่วน BA.5 อังกฤษ พบ 28% ,อเมริกา 25% ,ฝรั่งเศส 22% ,ออสเตรเลีย 21% และประเทศไทย 20% ใกล้เคียงกับทั่วโลก เพราะมีการผ่อนคลาย มีผู้เดินทางเข้ามา อาจพบติดเชื้อเพิ่มขึ้น
นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ความครอบคลุมวัคซีนสูง ทำให้การเสียชีวิตน้อย เช่น อังกฤษครอบคลุม 73% , อเมริกา 67% , ฝรั่งเศส 78% ,ออสเตรเลีย 84% การเสียชีวิตก็น้อย แต่แอฟริกาใต้ครอบคลุม 32% ผู้เสียชีวิตเริ่มเพิ่มขึ้นบ้าง
สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5
นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ประเทศไทยวันนี้ผู้ป่วยปอดอักเสบพบ 677 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาพบ 630 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 293 ราย ยังไม่เพิ่มขึ้น ยังทรงตัวอยู่ อีกสักระยะที่ปอดอักเสบอาจจะมีอาการมากขึ้น ส่วนผู้เสียชีวิตรายงาน 18 ราย ถือว่าคงตัวแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและเริ่มทรงตัว ผู้ป่วยรายใหม่ทรงตัว ผู้ป่วยที่เข้ารักษาใน รพ.ยังไม่เพิ่มขึ้นมากใกล้เคียงกับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ผู้ป่วยอาการไม่มากอาจเพิ่มขึ้นซึ่งผู้ป่วยที่เข้าระบบ HI จากที่เคยลงมาเหลือ 1 หมื่นราย ก็เพิ่มมาเกือบ 1.5 หมื่นราย การลงทะเบียนรับยาผ่านระบบ สปสช. ระบบผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก 1.91 แสนราย เป็น 2.07 แสนรายถือว่ามากในสัปดาห์นี้
ภาพรวมรายสัปดาห์ช่วงวันที่ 26 มิ.ย. – 2 ก.ค. ผู้ป่วยปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจใกล้เคียงกับตัวเลขรายงานวันนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ที่มา รพ.สะสม 16,000 ราย เฉลี่ยประมาณ 2 พันกว่าคนต่อวัน ผู้เสียชีวิตสะสม 106 ราย ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 161 ราย แต่พบว่ายังเป็นกลุ่ม 608 ทั้งหมด ซึ่งเกือบ 50% ไม่ได้วัคซีน บางคนฉีดเข็มเดียว จึงไม่สามารถป้องกันอาการรุนแรง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ อีกประมาณ 30% ฉีด 2 เข็มแต่เกิน 3 เดือนแล้ว
- “การป้องกันไม่ให้ป่วยรุนแรงต้องฉีดเข็มกระตุ้นด้วย โดยโรคเรื้อรังที่เสียชีวีตเยอะ คือ โรคไตเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และกลุ่มมะเร็ง อาจไม่ได้ฉีดวัคซีน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเสียชีวิตเพื่มขึ้น”
นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบและอัตราครองเตียงทั้งประเทศ 10.9% อยู่ในเกณฑ์ดี ถ้าเกิน 50% ต้องเพิ่มจำนวนเตียง ซึ่งหลายจังหวัดปรับเตียงโควิดอาการหนักไปใช้โรคอื่น ทำให้เตียงโควิดลดลง แต่หลายจังหวัดมีสัดส่วนการครองเตียงเพิ่มขึ้น เช่น กทม.และปริมณฑล จังหวัดท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต แต่อัตราครองเตียง 20-30% ยังอยู่ในเกณฑ์รองรับได้
- “ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กทม. ปริมณฑล จังหวัดใหญ่และท่องเที่ยว มีผู้ติดเชื้อและป่วยนอนรักษาเพิ่มขึ้น จึงต้องพิจารณาควบคุมการระบาดในบางส่วน อาจมีการเพิ่มเติมมาตรการป้องกันโรค เช่น สวมหน้ากากตลอดเวลา โดยเฉพาะการไปใช้พื้นที่มีคนจำนวนมาก มีการรวมกลุ่ม การใช้ขนส่งสาธารณะทุกประเภทต้องสวมหน้ากาก”
สรุปว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยหนัก และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น แต่อยู่ในเกณฑ์รองรับได้ในระบบสาธารณสุข ผู้ป่วยที่เข้ารักษาใน รพ.ยังเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยเตียงระดับ 2-3 แม้การใช้เพิ่มขึ้น แต่ถูกนำไปใช้โรคอื่นด้วย หากครองเตียงสูงขึ้นกว่านี้อาจต้องเปลี่ยนกลับมาใช้ดูแลโควิด ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ ยังมีรองรับเพียงพอ พบการระบาดในโรงเรียน สถานศึกษา เป็นคลัสเตอร์เล็กๆ หลายจังหวัด อาจแพร่ไปสู่ครอบครัว กลุ่ม 608 ได้
การป้องกันส่วนบุคคลสำคัญ ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา แม้เริ่มผ่อนคลายที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะเมื่อใช้ขนส่งสาธารณะ ร่วมกิจกรรมคนมาก ไปสถานที่ปิด กิจกรรมที่เสี่ยงสูง เพื่อลดเสี่ยงรับและแพร่เชื้อต่อกลุ่ม 608 และต้องเร่งสร้างภูมิด้วย ขอย้ำว่าวัคซีนไม่ได้ป้องกันติดเชื้อ สวมหน้ากากป้องกันได้ แต่วัคซีนช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ไม่ให้ใส่ท่อและเสียชีวิต
นพ.จักรรัฐกล่าวว่า หลายประเทศผ่อนคลายเรื่องการสวมหน้ากากไปมาก คนที่เดินทางไปต่างประเทศที่เริ่มผ่อนคลาย ยังแนะนำสวมหน้ากากเพื่อป้องกันติดเชื้อกลับมา เพราะกลับมาอาจติดคนในบ้าน ขอให้หลีกเลี่ยงไปร่วมกิจกรรมที่คนมาก ไม่สวมหน้ากาก เพราะตอนนี้แถบยุโรป สหรัฐฯ BA.4 BA.5 เยอะมาก
“ถ้าไปแล้วพบว่าติดเชื้อหรือสัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อกลับถึงไทยขอให้สวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อใกล้ชิดคนอื่น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 เพื่อไม่ให้เอาโรคไปให้กลุ่มนี้ เลี่ยงไปสถานที่สาธารณะ เพื่อลดเสี่ยงเอาเชื้อที่รับมาไปแพร่ ถ้าป่วยมีไข้เจ็บคอ ซึ่ง BA.4 และ BA.5 ค่อนข้างพบมีไข้ ไอ เจ็บคอค่อนข้างเยอะ ถ้ามีอาการแล้วสงสัยตรวจ ATK ได้เลย”
นพ.จักรรัฐกล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่และเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไปถึงปี 2566 ซึ่งหลังจากการเกิดระลอกใหญ่ของโอมิครอนช่วงมกราคมที่ผ่านมา คาดว่าจะเกิดเวฟเล็กๆ เป็น ‘อาฟเตอร์ช็อก’ ตามมา จากการผ่อนคลายมาตรการ เปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น
“เวฟเล็กแรกที่จะเจอคือ ช่วงสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 35 หรือช่วง 10 สัปดาห์จากนี้ไปจนถึง กันยายนนี้ ที่จะเป็นช่วงพีคสุด ซึ่งขณะนี้การติดเชื้อเพิ่มขึ้นแล้ว ทำให้อาจมีผู้ป่วยไปรักษาใน รพ.เพิ่มขึ้น ซึ่งเราคาดการณ์จากมาตรการที่ยังคงเหมือนในมิ.ย. คือ ยังสวมหน้ากาก ซึ่งตอนนี้เรามีป่วยเข้ารักษา 2 พันรายต่อวัน ก็คาดว่า ก.ย.ไม่ควรจะเกิน 4 พันรายต่อวัน”
ทั้งนี้ ถ้าผ่อนคลายมาตรการกันหมด ไม่สวมหน้ากาก ก็อาจจะเกินจากนี้ได้ แต่ยังต้องพิจารณาปัจจัยในช่วงเวลาใกล้ๆ อีกครั้ง แต่อาจไม่สูงเท่าโอมิครอนช่วงต้นปี เนื่องจากฉีดวัคซีนจำนวนมากแล้ว ส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรงและเสียชีวิตก็จะมีการคาดการณ์ตัวเลขเพิ่มเติม
“ตอนนี้การติดเชื้อกำลังขึ้นแล้ว ไม่เกิน 10 สัปดาห์ไปจุดพีคของเวฟเล็กๆ นี้ คือ ก.ย. แต่หากผ่อนคลายมาก เดินทางมหาศาล ติดเชื้อมากๆ และไปเจอกลุ่ม 608 ป่วยมาก ก็จะเป็นเวฟใหญ่ขึ้นได้ ดังนั้น อย่าเพิ่งรีบผ่อนหน้ากาก ตอนนี้มีสัญญาณแล้วรีบใส่ไว้ก่อน”
ส่วนการแจ้งเตือนยังคงระดับ 2 ซึ่งยังแนะนำให้ใส่หน้ากาก และช่วงระบาดมากๆ เป็นวงกว้าง ต้องรณรงค์ฉีดวัคซีน แม้ส่วนใหญ่ติดเชื้อไม่แสดงอาการและนอนที่บ้าน แต่กลุ่ม 608 เราไม่รู้จะรับเชื้อเมื่อไหร่ จะให้สวมหน้ากาก เว้นระยะห่างตลอดเวลาก็ยาก ลูกหลานไปเยี่ยมก็พาเชื้อมาได้ จึงจำเป็นต้องใส่หน้ากากให้มากที่สุดเมื่ออยู่กับคนอื่นและไปฉีดวัคซีน”
กรณีตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงต่ำกว่าความเป็นจริง 10 เท่านั้น ถ้าเป็นระลอกแรกๆ เราเน้นผู้ติดเชื้อ แต่โอมิครอนการระบาดเยอะแต่ไม่รุนแรง เราฉีดวัคซีนไปเยอะมากแล้ว กว่า 80% ในเข็มแรก เข็มกระตุ้นยัง 40% กว่า ฉะนั้น ถ้าฉีดเพิ่มขึ้นจะดีมากขึ้น สถานการณ์รายงานโรคจึงเน้นผู้ป่วยเป็นหลัก คือ รักษาใน รพ. เพื่อติดตามว่าระบบสาธารณสุขจะรองรับได้มากน้อยแค่ไหน การรายงานเราติดตามทั้งผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อในระบบลงทะเบียนรักษา สปสช. หลายคนติดเชื้อไม่มีอาการหรืออาการน้อย อาจไปซื้อฟ้าทะลายโจรหรือลงทะเบียนรับยาแล้วนอนอยู่บ้าน โดยไม่ได้เข้าระบบ รพ.เราอาจไม่ทราบ 100% แต่จะติดตามจากแนวโน้มผู้ป่วยใน รพ.เป็นหลัก คาดว่าเราต้องอยู่กับโควิด 19 การติดเชื้ออาจพบได้ขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลข 10 เท่านั้น ถ้าตัวเลขดูจากข้อมูล เรารักษาใน รพ. 2 พันราย ระบบลงทะเบียน OPSI 2 หมื่นราย ก็ประมาณ 10 เท่า แต่อาจจะมากกว่า เพราะติดเชื้อแสดงอาการ หรือติดเชื้ออาการน้อย กินฟ้าทะลายโจรอยู่บ้านอาจจะมีจำนวนมากพอสมควร อาจจะมากกว่า 10 เท่า ตรงนี้เราไม่ห่วง เพราะรักษาตัวเองเหมือนไข้หวัด ถ้าไม่ลงปอดหรือปอดอักเสบก็ไม่มา รพ.รักษาตัวเองก็คล้ายกัน อยากให้ทุกคนอยู่กับโควิดได้ลักษณะแบบนั้น นอกจากนี้ ถ้าป่วยมีอาการ รับยาเร็ว อาการป่วยหนักจะช้า จะป่วยหนักน้อยลง เวฟเล็กๆ ถ้าไม่เกินระบบสาธารณสุขก็ไม่น่าเป็นห่วง
อ่านข่าวที่น่าสนใจ
- หน้ากากยังสำคัญ! นพ.มนูญ เตือน เชื้อนี้แพร่กระจายเร็ว หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดี
- คับคั่ง! ประชาชนแห่ฉีด ฉีดวัคซีน ‘โมเดอร์น่า’ ล้น สถานีกลางบางซื่อ
- จำเป็น! ทุกคนควรฉีค วัคซีนกระตุ้น ถ้าไม่ฉีดแล้วติด COVID 19 อาจตายได้