อั๋นคำผกายัน ภาษาอังกฤษมีไว้สื่อสาร แสวงหาความรู้ เด็กไทยอย่าไปกลัว ไม่ใช่เครื่องแสดงสถานะสังคม ชี้ง่ายกว่า เพราะมีเว้นวรรค ระหว่างคำชัดเจน
วันที่ 22 มิ.ย.2565 ข่าวจบ คนไม่จบ! EP วิเคราะห์เจาะลึก ถึงพริกถึงขิง จากมุมมอง “อั๋น ภูวนาทและ แขก คำผกา” กับ 3 วิพากษ์เผ็ดร้อน 3 ประเด็นฮอต จบเอเปค การเมืองกระเพื่อม ลือหนัก ตู่ ซบไทยสร้างชาติ ไทยรั้งท้ายชาวโลก ภาษาอังกฤษอ่อนแอ พ่ายเขมร-พม่า จับซาลอนจีน ทัวร์ศูนย์เหรียญ แย่งอาชีพสงวนคนไทย โดยพิธีกรคืออั๋น-ภูวนาท คุนผลิน และคำผกา ลักขณา ปันวิชัย สำหรับเรื่องภาษาอังกฤษนั้น ต้องย้ำว่ามีไว้เพื่อสื่อสาร อย่าไปมองเป็นแสดงสถานะสังคม แต่เป็นเครื่องแสวงหาความรู้ เด็กไทยจะได้ไม่กลัว
อั๋นเผยว่างบประมาณกระทรวงศึกษาธิการสูงมาก ติดอันดับของโลก แต่ส่วนใหญ่ 80% เป็นเงินเดือน คำผกาเผยว่าเราให้ความสำคัญของการศึกษาเน้นที่พิธีกรรม ซึ่งตนขอพูดไปแบบยาวๆ รวดเดียวเลย หลังจากเขียนในเฟซบุ๊กเรื่องปัญหานี้ อย่างแรกคือต้องปล่อยวางเรื่องความถือดี อคติทุกอย่างไปก่อน และเสนอสิ่งที่สุดโต่งไปคือบรรจุดภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการลำดับที่ 2 เลย
ทั้งนี้เราสามารถเลือกได้ ว่าจะใช้ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ มันจะทำให้รู้สึกว่าภาษาอังกฤษเป็นของเรา ไม่ได้มองเป็นการศึกษาของชนชั้นสูง พูดทีไร ก็มองว่าตัวเองกระแดะดัดจริต เพราะเซนส์การเรียนภาษาอังกฤษถูกปลูกฝังว่ามันไม่ได้เป็นของเรา มันเป็นของคนอื่น พอมันไม่ได้เป็นของเราแล้ว มันก็แปลกแยกและกลัว มองเห็นของบางอย่างในตู้กระจกที่สวย แต่มันเกินเอื้อม จนละทิ้งโอกาสที่จะไปสัมผัสมัน
อ่านข่าว ผลสำรวจเผย ทักษะภาษาอังกฤษทั่วโลก ไทยรั้งท้ายระดับต่ำมาก แพ้เมียนมา-เขมร
อ่านข่าว คำผกา ร่ายยาว ปรับปรุงทักษะ ภาษาอังกฤษคนไทย หลังอยู่อันดับท้ายๆ
เราลองจินตนาการดูความเป็นไปได้ หากมันเป็นภาษาราชการ ก็ลดขั้นตอนการแปลได้ และทำให้ภาษามันจับต้องได้ ทั้งที่ภาษาอังกฤษง่ายกว่าภาษาไทยอีก พยัญชนะน้อยกว่า วรรณยุกต์ก็ไม่มี การสอนภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้น มีการวิจัยว่าทำอย่างไรถึงจะได้ผล เราเปลี่ยนแนวคิดว่าภาษาอังกฤษง่ายกว่าภาษาไทย เด็กก็พร้อมจะเรียนรู้ ให้อ่านนิทาน พบว่าอ่านภาษาอังกฤษได้เร็วกว่าภาษาไทย แยกคำได้ดีกว่า มีเว้นวรรค เด็กก็จะจบเป็นคำ รู้ว่า 1 คำหยุดที่ไหน
หากเราลองเอาอคติออกไป จะรู้เลยว่าภาษาอังกฤษมันง่าย จบคำได้เลย ขณะที่ภาษาไทยนั้น มันติดกันเลย มันเหมือนส้มตำ ใครๆ ก็เข้าถึงได้ เหมือนกินผัดไทย ส้มตำ ทั้งนี้นักภาษาศาสตร์อาจจะบอกว่าการเรียนภาษาที่ 1 กับภาษาที่ 2 นั้นมันแตกต่าง ซึ่งตนรู้ แต่ไม่ปล่อยให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สถาปนาให้มันเท่ากับภาษาไทยให้กับคนยุคใหม่เลยได้ไหม เปลี่ยนแนวคิดว่าเราสามารถมีภาษาอังกฤษฉบับไทยด้วยก็ได้ โอบรับมันมาเป็นวิถีไทย
เราควรให้ความสำคัญการออกเสียง แต่อย่าไปทำสำเนียงเหมือนฝรั่งมาก แต่ต้องออกเสียงให้ถูก จะไปออกเสียงแบบอื่นก็ได้ แล้วแต่เลย ไปปรับกันทีหลัง แต่ต้องอ่านคำให้ถูก เปลี่ยนแนวคิดว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่เครื่องแสดงสถานะสังคม แต่เป็นเครื่องแสวงหาความรู้ เด็กไทยจะได้ไม่กลัว
ทีนี้เราไปสอนการทำภาษาอังกฤษให้ได้คะแนนเยอะ เพื่อเข้าเรียน แต่ใช้งานในชีวิตจริงๆ ไม่ได้ อีกอย่างคือมันทำลายวิถีคิดแบบไทย ความรู้แบบภาษาอังกฤษในประเทศอาณานิคมมันผูกติดกับชนชั้นสูง เพื่อเอาไว้เหยียบย่ำ ให้รู้ว่าใครเป็นใคร ดูสำเนียงว่าเป็นของใคร
อั๋นเผยว่าเด็กยุคใหม่ภาษาอังกฤษดีขึ้นมาก แต่ในต่างจังหวัดยังไม่ได้ ครูสอนก็รู้สึกว่าหลักสูตรไม่ได้เลย ต้องให้มันอยู่ในวิถีคิด ถ้าคิดแบบไทย พูดอังกฤษได้ยาก มันต้องคิดแบบอังกฤษ โลกทัศน์ไม่ใช่แค่ไวยากรณ์ ว่าอะไรมาก่อนมาหลัง ภาษาอังกฤษมันบังคับให้เรามีลำดับความคิด ถ้าคิดเป็นภาษาไทยมันจะวนๆ แล้วแปลไม่ทัน
คนจะพูดได้ต้องสลับโลกทัศน์มันได้เรื่อยๆ ต้องปลูกฝังการฟังการพูด และขยับไปที่การอ่าน แล้วค่อยไปเขียน อ่านเยอะก็จะเขียนดีโดยอัตโนมัติ
การเข้าถึงภาษาอังกฤษได้ตั้งแต่เด็ก มันเป็นธรรมชาติ เพราะมนุษย์อยากสื่อสาร ยิ่งอยู่ตั้งแต่เด็ก ยิ่งไม่ต้องสอน การเรียนภาษาต่างชาติ บางคนไปคิดว่าจะสูญเสียตัวตนความเป็นไทย ทั้งที่เดินหน้าควบคู่กันได้ ไม่ใช่ว่ารู้อย่างหนึ่ง อีกอย่างจะต้องเสียเหรอ
“คิดถึงคนในยุโรป คนเนเธอร์แลนด์ พูดได้หลายภาษา ก็ไม่เห็นสูญเสียความเป็นชาติเลย”
คนที่ออกมาต่อต้านรักษ์ความเป็นไทย ก็ส่งลูกไปเรียนระบบอินเตอร์เฉย ซึ่งก็มองเหมือนแบ่งชนชั้นวรรณะอีก มันเหมือนเลือกสังคมให้เลย มันเป็นสังคมอีกแบบ และความเหลื่อมล้ำก็เกิด มีเด็กอินเตอร์กับเด็กสก๋อย ถ่างกว้างไปอีก และเราสู้ชาติอื่นๆ ไม่ได้ในเรื่องภาษา และมันใช้เวลาในการทำให้มันคล่องปาก
เพราะพอโตแล้ว รับทัศนคติของภาษาแม่ไปแล้ว จะเปลี่ยนก็ยากมาก และทำให้คนกลุ่มหนึ่งมองภาษาอังกฤษสูงเกินเอื้อม บางคนก็รู้สึกว่าไม่อยากเรียนแล้ว