อัฟกานิสถาน : ฤดูหนาวและความหิวโหยกับ “วิกฤตทางมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก”

Home » อัฟกานิสถาน : ฤดูหนาวและความหิวโหยกับ “วิกฤตทางมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก”


อัฟกานิสถาน : ฤดูหนาวและความหิวโหยกับ “วิกฤตทางมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก”

ตอนนี้โครงการอาหารโลก (World Food Programme) ต้องพยายามจัดหาอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้คนกว่า 22 ล้านชีวิต หากสภาพอากาศฤดูหนาวนี้เลวร้ายอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดเดา ประเมินกันว่าผู้คนจำนวนมากจะต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนอาหารครั้งรุนแรง

ผมได้พูดคุยกับเดวิด บีสลีย์ ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกขณะเขาเดินทางไปที่กรุงคาบูล เขาบอกว่าสถานการณ์เลวร้ายมาก ๆ “ที่จริงแล้ว นี่เป็นวิกฤตทางมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก”

“ราว 95% ของประชากรมีอาหารไม่เพียงพอ ขณะที่ 23 ล้านคนกำลังจะเผชิญกับความอดอยาก” นายบีสลีย์ กล่าว “6 เดือนต่อจากนี้จะเป็นหายนะ มันจะเป็นนรกบนดิน”

ก่อนหน้าที่กลุ่มตาลีบันจะเข้ายึดครองประเทศในเดือน ส.ค. มีความมั่นใจกันว่าประธานาธิบดีอัชราฟ กานี จะรับมือกับฤดูหนาวอันโหดร้ายไว้เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติด้วย เมื่อรัฐบาลของนายกานีล้มลง ความช่วยเหลือเหล่านั้นก็หายไปด้วย

ชาติตะวันตกเลิกให้การช่วยเหลือ เพราะพวกเขาไม่อยากถูกมองว่าให้การช่วยเหลือกลุ่มผู้ปกครองประเทศที่ห้ามไม่ให้เด็กผู้หญิงไปโรงเรียนและนำการลงโทษตามหลักการปกครองภายใต้หลักกฎหมายอิสลามหรือ “ชารีอะห์” กลับมาใช้

อัฟกานิสถาน : ฤดูหนาวและความหิวโหยกับ “วิกฤตทางมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก”

Getty Images
“คนร้อยละ 95 ไม่มีอาหารเพียงพอ และคน 23 ล้านคนกำลังจะเผชิญกับความอดอยาก”

แต่ชาติตะวันตกจะอยู่เฉย ๆ และปล่อยให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์หลายล้านคนต้องหิวโหยอย่างรุนแรงหรือ

นายบีสลีย์กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศเหล่านั้นและมหาเศรษฐีในประเทศพัฒนาแล้วหันมาช่วยจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้

“ถึงผู้นำโลกและมหาเศรษฐีทั้งหลาย ลองจินตนาการว่าคนพวกนี้คือ ลูกสาวหรือลูกชายตัวน้อย ๆ ของคุณ หรือหลานคุณที่กำลังจะหิวตาย” เขากล่าว “คุณจะทำทุกวิถีทางที่ทำได้ ในขณะที่โลกนี้มีความร่ำรวยกองอยู่ถึง 400 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ พวกเราควรละอายใจ”

“ถ้าเราปล่อยให้เด็กคนหนึ่งตายจากความหิวโหย พวกเราก็ควรละอายใจ ผมไม่สนใจหรอกว่าเด็กคนนั้นจะอยู่ที่ไหน”

  • ทำไมคนอัฟกันในชนบทจึงนิยมตาลีบัน
  • ชีวิตภายใต้การปกครองของตาลีบัน : “ความฝันทั้งหมดของฉันถูกทำลาย”
  • ครูอัฟกันเปิดโรงเรียนออนไลน์ สู้ตาลีบันกีดกันผู้หญิงจากการศึกษา
A Taliban fighter stands guard as women wait in line during a World Food Programme food distribution in Kabul

AFP
นักรบตาลีบันยืนคุมขณะผู้หญิงยีนต่อคิวรอรับการแจกจ่ายอาหารในกรุงคาบูล

ที่เมืองบามิยันในภาคกลางของประเทศ ซึ่งกลุ่มตาลีบันมาทำลายพระพุทธรูปโบราณอันสวยงามเมื่อปี 2001 ทีมบีบีซีเดินทางไปพบกับแม่ม่ายชื่อฟาติมา ซึ่งมีลูก 7 คน อายุ 3 ถึง 16 ปี

สามีเธอเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหารเมื่อไม่นานมานี้

ครอบครัวเธอยากจนมาก อาศัยอยู่ในถ้ำใกล้หน้าผาที่แกะสลักเป็นพระพุทธรูปซึ่งถูกกลุ่มตาลีบันทำลายไป

สมัยรัฐบาลที่แล้ว ครอบครัวฟาติมายังได้รับการแจกจ่ายแป้งและน้ำมันจากทางการอยู่ แต่ก็ชะงักไปหลังตาลีบันเข้ายึดประเทศ

ก่อนหน้านี้เธอเคยได้รายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากการกำจัดวัชพืชจากที่ดินของชาวไร่บริเวณใกล้เคียง แต่ตอนนี้ภัยแล้งเท่ากับว่ามีพืชผลที่อยู่รอดมาน้อยลง งานเธอก็น้อยลงไปด้วย

“ฉันกลัว ฉันไม่มีอาหารให้ลูก อีกไม่นานฉันต้องออกไปขออาหารจากคนอื่น”

พ่อแม่บางคนต้องตัดสินใจขายลูกสาวให้ไปแต่งงานกับชายที่อายุมากกว่า ฟาติมาปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น แต่หากทางการไม่ช่วยแจกจ่ายอาหารให้เร็ว ๆ นี้ เธอและลูก ๆ จะต้องเผชิญกับความอดอยากจริง ๆ

ฤดูหนาวใกล้จะมาถึงแล้ว และอีกหลายครอบครัวที่ยากจนอย่างครอบครัวฟาติมากำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ