อวสานมื้ออาหาร! เปิดภาพก้อน “หูด” ที่นิ้วก้อยเท้า เป็นมานานกว่า 10 ปี มีเส้นเลือดเลี้ยงก้อนหูดอยู่

Home » อวสานมื้ออาหาร! เปิดภาพก้อน “หูด” ที่นิ้วก้อยเท้า เป็นมานานกว่า 10 ปี มีเส้นเลือดเลี้ยงก้อนหูดอยู่

อวสานมื้ออาหาร! เปิดภาพก้อน “หูด” ที่นิ้วก้อยเท้า ซึ่งเป็นมานานกว่า 10 ปี จากการตรวจตรวจพบว่า มีเส้นเลือดเลี้ยงก้อนหูดอยู่ พบการติดเชื้อ

หากเรารู้สึกไม่สบาย หรือ เกิดสิ่งผิดปกติกับร่างกายของเรา ไม่ว่าขะเล็กหรือใหญ่ หรือเป็นเพียงแค่อาการแพ้เล็กๆน้อยๆ ก็ไม่ควรที่จะมองข้าม และไม่ควรที่จะปล่อยเอาไว้ หากปล่อยปละละเลยไป อาจจะไม่ใช่ผลด่อต่างกาย ดังนั้นมั่นสังเกตตัวเอง และดูอลตัวเองเสมอ หรือหากปล่อยไว้นาน หนทางการรักษาอาจจะยากมากกว่าเดิมก็เป็นได้

เช่นเดียวกับเคสนี้ โดยทางผู้ใช้ติ๊กตอก @komethkim หรือ หมอตี๋ Dr.ArTee หมอผิวหนัง จากศูนย์ผิวหนัง รพ.จุฬารัตน์9 ได่โพสต์คลิปวิดีโอ ความยาวประมาณ 37 วินาที โดยเคสดังกล่าวที่คุณหมอนำมาเล่าต่อ เป็นเคสของก้อน “หูด” ที่นิ้วก้อยเท้า ซึ่งเป็นมานานกว่า 10 ปี จนมีลักษณะเป็นก้อนที่หนานูนขึ้นมา และหากดูใกล้ๆ จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ มีแฉก ซี่งเป็นลักษณะเด่นของหูด

เคสดังกล่าวได้ทำการตัดชิ้นเนื้อของก้อนหูดส่งตรวจ พบว่า เป็นหูดจริง และจะเห็นได้ว่าผิวหนังที่มีการติดเชื้อนั้น จะมีลักษณะเป็นแฉกๆ และมีเส้นเลือดเลี้ยงอยู่ ในส่วนของการรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการพ่นเย็น พายา จี้ไฟฟ้า หรือการผ่าตัดออก

ทั้งนี้คลิปดังกล่าวยังไม้ได้รับความสนใจจากทางโลกออนไลน์เป็ยนอย่างมาก มียอดเข้าชมว่า 4 ล้านครั้ง ยอดกดหัวใจอีกว่าแสนหก และแชร์ต่ออีกพันสี่ร้อยกว่าครั้ง อีกทั้งในคอมเมนต์อีกชางเน็ตหลายท่านเข้ามาแชร์ประสยการณ์เกี่ยวกับ หูด ที่ตนเองเคยเป็นมาอีกด้วย

@komethkim

หูดที่เท้า 10 ปี!! #หมอตี๋ #หมอผิวหนัง #ฉันเพิ่งรู้ #tiktokuni_th #tiktokuni #หูด #รักสุขภาพ

♬ April (No Vocals) – The Young Ebenezers

ทั้งนี้ทาง BRIGHT TODAT ได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หูด พบว่า หูดฝ่าเท้า (Plantar Warts) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) มักอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกสุดของฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กขึ้นที่บริเวณโคนหัวแม่เท้า จมูกเท้าหรือส้นเท้า ทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บระหว่างเดินหรือลงน้ำหนักไปที่เท้า 

เชื้อเอชพีวีจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลเปิดขนาดเล็กหรือจุดบอบบางบนผิวหนังก่อนที่จะแสดงอาการในภายหลัง หูดฝ่าเท้าป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาเท้าให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ เปลี่ยนรองเท้าและถุงเท้าเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดโดยตรงแต่หากสัมผัสแล้วควรล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าและไม่ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างกรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บหรือหินขัดผิวบนผิวหนังบริเวณอื่นหลังจากอุปกรณ์นั้นสัมผัสแผลหูดแล้ว

ข้อมูล – pobpad

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ