อย. เตือน! อย่าหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยรักษาระดับน้ำตาล

Home » อย. เตือน! อย่าหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยรักษาระดับน้ำตาล
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร-ปก-min

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศเตือน ห้ามใช้! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนม “FALIGOLD” ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด มีสรรพคุณ​อันเป็นเท็จ​

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการออกมาเตือนภัย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า “FALIGOLD” ระบุว่า

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร FALIGOLD อ้างช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจสอบแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.และเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ เป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย อย่าหลงเชื่อซื้อมารับประทาน อาจเสียเงินเปล่า

ซึ่งเขาได้ให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Faligold ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ทำให้ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ผลิตภัณฑ์-เสริมอาหาร-1-min
  • เพิ่มความขลัง! นิมนต์พระขึ้น ฮ. ปลุกเสกวัตถุมงคล พร้อมโปรยทาน 2 แสน
  • สุดอนาถ! วัยรุ่นชาย กระโดดสะพานลอย เคราะห์ซ้ำ ถูกกระบะเหยียบซ้ำ
  • เปิดสาเหตุ! เพลิงไหม้กุฏิไม้เก่า วัดสวนแก้ว คลอกเด็กดับ 3 ราย

ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ FALIGOLD เป็นผลิตภัณฑ์​ที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีการอ้างถึงสรรพคุณเรื่องทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ 80-100MG/DL หลังจาก 3 สัปดาห์ หยุดอาการชาตามแขนขา ปัสสาวะตอนกลางคืน ตาพร่ามัว

ผลิตภัณฑ์-เสริมอาหาร-2-min

การใช้นม Faligold ในระยะยาวสามารถหยุดรับประทานยาฝรั่งและฉีดอินซูลินได้ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการใช้คุณ​ประโยชน์​ คุณภาพสรรพคุณ​ อันเป็นเท็จ​ หลอกให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร และทาง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป

หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน อาจเสียเงินเปล่าควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ FALIGOLD เป็นผลิตภัณฑ์​ที่ไม่ได้รับอนุญาต มีการใช้คุณ​ประโยชน์​ คุณภาพสรรพคุณ​ อันเป็นเท็จ​ หลอกให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) , ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ