อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!

Home » อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!
อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!

เมื่อเดินทางบนเครื่องบินมักมีบริการต่างๆ เสริมเข้ามา เช่น อาหาร เครื่องดื่ม นิตยสาร ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะกินดื่มบนเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า “การดื่ม” บนเครื่องบินนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพที่ร้ายแรงได้

การศึกษาตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ “Thorax” จากผลการวิจัยของสถาบันเวชศาสตร์การบินและอวกาศแห่งศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน (German Aerospace Center) พบว่าผู้โดยสารที่เผลอหลับหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ในห้องโดยสารความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดลดลงอย่างน่ากังวล ระดับออกซิเจนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยิ่งดื่มมากเท่าไรก็ยิ่งส่งผลมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่เจ็บป่วยทางกาย

การศึกษาชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี ครึ่งหนึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความกดอากาศปกติ และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีสภาพแวดล้อมความดันจำลองห้องโดยสาร บนเครื่องบิน และส่วนหนึ่งมีการดื่มเบียร์ 2 กระป๋องหรือไวน์แดง 2 แก้ว

ผลพบว่า คนที่หลับไปภายใต้ความกดดันอากาศปกติ และไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดคงที่ ที่ประมาณ 96% และอัตราการเต้นของหัวใจขณะนอนหลับอยู่ที่ 46 ครั้งต่อนาที (bpm)

ในขณะที่ ผู้ที่เผลอหลับไปโดยดื่มแอลกอฮอล์ในห้องโดยสารจำลอง ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดโดยเฉลี่ยลดลงเหลือ85% และอัตราการเต้นของหัวใจขณะที่นอนหลับ เพิ่มขึ้นเป็น 88 ครั้งต่อนาที

แม้แต่ผู้ที่ผล็อยหลับไปในห้องโดยสารจำลอง โดยไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 88% และอัตราการเต้นของหัวใจในการนอนหลับอยู่ที่ 73 ครั้งต่อนาที

ทีมวิจัยอธิบายว่า อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นสาเหตุ 7% ของเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์บนเครื่องบินทั้งหมดและ 58% ของการนำเครื่องบินลงจอดฉุกเฉิน มีสาเหตุมาจากผู้โดยสารที่ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น

การวิจัยชี้ให้เห็นว่า แม้แต่คนหนุ่มสาวและคนที่มีสุขภาพดี การดื่มแอลกอฮอล์และการนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่มีความดันต่ำ (ความดันในห้องโดยสาร) ก็สามารถสร้างความเครียดให้กับระบบหัวใจได้อย่างมาก ซึ่งอาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจและปอดรุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นต่อผู้สูงอายุ

Dr.Eva-Maria Elmenhorst ยังเตือนด้วยว่า ผู้โดยสารที่มีโรคประจำตัว ซึ่งความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดอาจต่ำอยู่แล้ว จากนั้นจึงลดลงไปสู่ระดับที่ต่ำลงอีก เนื่องจากการดื่มบนเครื่อง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้นและทำให้เกิดปัญหาขึ้น จึงแนะนำผู้ที่เป็นโรคหัวใจและปอด ไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองหลับไปแบบ “นอนราบ” ในการทดลอง ดังนั้นผลลัพธ์จึงอาจแตกต่างไปจากผู้โดยสารชั้นประหยัด 

  • ผัวเมียหัวหมอ ซื้อตั๋วเครื่องบิน First Class หวังได้สิทธิ์ 2 แถม 1 ทำคนทั้งลำซวยไปด้วย!
  • แอร์ฯ เผยอาหาร 4 อย่างที่ “ไม่กล้ากิน” บนเครื่องบิน แนะ ผดส.อย่าสั่งจะดีกว่า

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ