สาวสหรัฐฯ สุดทรมานป่วยเป็นโรค ถึงจุดสุดยอดพร่ำเพรื่อ หรือ PGAD มีอารมณ์ทางเพศและรู้สึกปวดตลอดเวลา จนใช้ชีวิตปกติไม่ได้
เมื่อวันที่ 23 เมษายน เว็บไซต์ NYPost ได้รายงานถึงอาการป่วยประหลาดของสาวอเมริกัน ชื่อ สการ์เล็ต เคธลิน วัลเลน วัย 21 ปีที่ป่วยเป็นโรคถึงจุดสุดยอดพร่ำเพรื่อ Persistent Genital Arousal Disorder หรือ PGAD ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เธอมีอารมณ์ทางเพศตลอดเวลา และไม่สามารถควบคุมมันได้
โดยเธอเล่าว่าเธอแสดงอาการตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เธอรู้สึกปวดทรมานอวัยวะเพศมาตลอด และเธอต้องทนอยู่กับโรคนี้มา 15 ปี ซึ่งเธอระบุว่าเธอมีเพียงไม่กี่วันเท่านั้นที่เธอไม่รู้สึกทรมาน ทำให้เธอไม่สามารถทำงานหรือเรียนอย่างเต็มเวลาได้
นักศึกษาสาวจากรัฐโรดไอแลนด์ กล่าวว่า เธอรู้สึกเหมือนว่าช่องคลอดของเธอร้อนตลอด เหมือนเธอมีอารมณ์ แต่เธอไม่ได้มีอยากมีเพศสัมพันธ์ มันเป็นความเจ็บปวด เธอไม่ได้รู้สึกดี มันทำให้เธอเล่นกับเพื่อนไม่ได้ตั้งแต่เด็ก เธออยากใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ นอกจากนี้ PGAD ยังส่งผลให้เธอไม่สามารถมีเพื่อนหรือเข้าสังคมนานๆได้อีกด้วย
นอกจากนี้เธอยังป้ายยาระเหยไปยังบริเวณอวัยวะเพศเธอด้วย ซึ่งเธอกล่าวว่าเธอยอมแสบจากไอระเหยดีกว่าที่เธอจะรู้สึกทรมานจากอาการป่วยของเธอ
เธอมาทราบครั้งแรกว่าเธอป่วยเป็นอะไรเมื่อปี 2563 หลังจากที่เธอเข้าพบแพทย์ โดยหลังจากที่แพทย์ฟังอาการของเธอก็ทำให้เขายืนยันได้ว่าเธอป่วยเป็นโรค PGAD พร้อมกันนี้เธอยังป่วยเป็นภาวะที่มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณ vestibule หรือ บริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้างตั้งแต่คลิตอริสจนถึง posterior fourchette โดยเธอมีภาวะนี้ตั้งแต่เกิดและเป็นต้นเหตุของอาการ PGAD
ปัจจุบันเธอได้ทำการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่สร้างความเจ็บปวดออก ทำให้เธอใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ทว่า วัลเลน กล่าวว่าในอนาคตทางเลือกของเธอคือการนำเนื้อเยื่อออกให้หมดและไม่รู้สึกอะไรเลยหรืออาศัยกับ PGAD ซึ่งเธอกล่าวว่าเธอยังต้องการมีความสัมพันธ์ที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเธอหวังว่าซักวันเธอจะใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ
ทั้งนี้จากการไปตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PGAD อ้างอิงจากเว็บไซต์ Hellokhumor ได้ระบุว่า ภาวะถึงจุดสุดยอดพร่ำเพรื่อ (Persistent Genital Arousal Disorder; PGAD) หรือภาวะความผิดปกติของการกระตุ้นอวัยวะเพศนี้ มักเกิดขึ้นได้กับเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย
ยังไม่มีเอกสารทางการแพทย์ระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงภาวะดังกล่าว ในบางกรณีก็มักเกิดควบคู่กันได้กับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ ความเครียด อาการวิตกกังวล เป็นต้น เนื่องจากยาบางประเภทที่ใช้รักษาอาการเหล่านี้ อาจเข้าไปมีผลกระทบต่อทางอารมณ์ร่วมด้วยก็เป็นได้