“อนุทิน” จ่อเซ็นวันนี้ออกประกาศ “กัญชา” สมุนไพรควบคุม สกัดเด็กต่ำกว่า 20 ปี ใช้ที่สาธารณะ ส่วนช่อดอกปรุงอาหารได้ ใช้ 1-2 ช่อในหม้อต้ม อย่าใส่เกิน
วันที่ 16 มิ.ย. 65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดประชุมมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการควบคุม กำกับ การใช้กัญชาอย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ว่า เรื่องการใช้กัญชากัญชงในประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพ วันนี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ได้รับการตอบสนองในเชิงบวกอย่างมากจากประชาชน
ข้อมูลล่าสุดมีการเข้าแอปพลิเคชันปลูกกัญแล้ว 32 ล้านครั้ง มีการขอจดแจ้งปลูกในครัวเรือนและจดทะเบียนผลิตสินค้ากับ อย. รวม 8.5 แสนราย อย.อนุมัติ 8.1 แสนราย ผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก
ส่วนความเป็นห่วงเรื่องการเข้าถึงกัญชาของเยาวชน เด็กวัยเรียน การใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการเสพสูบ ย้ำว่านโยบายกัญชาเสรีของ สธ.มีเจตนาให้ก่อประโยชน์ทางสุขภาพ การแพทย์ และสินค้าสุขภาพ ในเชิงอุตสาหกรรม สำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาหรือมวนคล้ายบุหรี่แล้วสูบเสพ ก่อให้เกิดโทษไม่ต่างจากของมึนเมาอื่น ๆ มีความผิดตามกฎหมาย โทษทั้งจำและปรับ
“นอกจากนี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) ภายใต้อำนาจ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งปลัด สธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาฯ ก็ได้เสนอร่างมาแล้ว เอกสารอยู่ในห้องทำงานแล้ว ถ้าวันนี้ผมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องก็จะลงนามต่อไป” นายอนุทิน กล่าว
นายอนุทิน กล่าวว่า ร่างประกาศดังกล่าวออกมาเพื่อให้คุ้มครองเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ดังนี้ 1.ให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม 2.ให้ผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปสามารถใช้ประโยชน์กัญชาได้ยกเว้นการใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1) การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะ และ 2) การใช้ในหญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร
3.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาในการบำบัดรักษาผู้ป่วยของตน และ 4.ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น
นายอนุทิน กล่าวว่า ร้านค้าสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบปรุงอาหารได้ ทางกรมอนามัยออกประกาศว่าร้านใดใช้ให้ติดป้ายให้ผู้บริโภคทราบ และผู้บริโภคมีสิทธิถามว่าผสมกัญชาหรือไม่ โดยการนำใบมาตำส้มตำ ทำแกงต่างๆ ไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะใบไม่มีสารก่อให้เกิดฤทธิ์จิตประสาท ช่อดอกถ้านำไปต้มในปริมาณเหมาะสมก็ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น เป็นเทคนิคในการเรียกลูกค้า ไม่ก่อให้เกิดโทษถ้าใส่ปริมาณถูกต้อง ถ้าใส่ 300 ช่อก็อย่าไปกิน เพราะเกินปริมาณ คิดว่าประชาชนมีความเข้าใจดีอยู่แล้ว
ถามว่าช่อดอกถ้านำไปปรุงอาหาร เช่น ต้ม ผัด ทำให้เกิดสารสกัด ซึ่งไม่สามารถตรวจได้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน อาจทำให้เป็นอันตราย นายอนุทินกล่าวว่า เราไม่ได้ห้ามช่อดอก ห้ามสารสกัด จะนำไปใช้ก็ใช้อย่างพอเหมาะ ร้านใดที่ใช้เกินปริมาณก็จะมีโทษด้วย เช่น ช่อดอกก็ไม่ควรเกิน 1-2 ดอกในหม้อต้ม ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหาในการใช้ แต่ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเสพสูบ นำสารสกัดกัญชาไปใช้มากเกินไป แต่การนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต้องมีการขออนุญาตจากอย.อยู่แล้ว ซึ่งต้องเน้นย้ำว่า ร้านอาหารจะต้องห้ามใส่เกินปริมาณ
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตัวกฎหมายหลักจะระบุเรื่องปริมาณสาร THC เกินกำหนดไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว ซึ่งจะทราบได้อย่างไรว่าเกิน เราดำเนินการ 2 อย่าง คือ 1.กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบ พนักงานต้องผ่านการอบรม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนอาหารที่รับประทาน อย่างคำแนะนำหากกินหมดทั้งจาน ก็ไม่ควรกินเกินวันละ 2 เมนู และส่งเสริมให้กินหลากหลายครบหมู่อาหาร เพื่อไม่ให้ปริมาณสารเกิน
2.ควบคุมที่ร้านให้ติดป้ายและคำเตือนแจ้งประชาชน พร้อมแสดงเมนูที่ผสมกัญชา ทั้งนี้ ทางสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนให้สัมภาษณ์ นายอนุทิน ได้ลงมือปรุงอาหารเมนูส้มตำ ที่มีส่วนผสมของใบกัญชาสด 2 ใบ พร้อมน้ำปลาร้าที่ไม่มีส่วนผสมกัญชา เพื่อเป็นตัวอย่างเมนูอาหารที่ร้านควรจะปรุงให้เหมาะสม ตามประกาศของกรมอนามัย ที่ระบุให้ใส่ส่วนผสมกัญชาอย่างเหมาะส