วันที่ 9 เมษายน 2567 กองทัพเรือ Royal Thai Navy ได้มีการถ่ายทอดสด เกี่ยวกับประเด็นของ “การแถลงผลการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณี ร.ล.สุโขทัย ประสบเหตุอับปาง” ซึ่ง พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ สอบสวน กรณี “เรือหลวงสุโขทัย” อับปางในทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2565
โดยข้อมูลจากวิดีทัศน์ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เรือหลวงสุโขทันอับปาง ข้อมูลสำคัญระบุว่า มาจากสภาพอากาศและคลื่นลม สภาพอากาศแปรปรวน เปลี่ยนแปลงฉับพลัน รุนแรงคลื่นสูง 6 เมตร จนทำให้เรือหลวงสุโขทัยล่ม
เรือหลวงสุโขทัย สามารถเดินเรือได้ที่ CStage 5 ในระดับคลื่นที่มีความสูง 2.5-4 เมตร โดยสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ฉับพลัน จากที่มีการพยากรณ์ไว้ให้เรือโคลงมาก ควบคุมเรือได้ยาก การทรงตัวของเรือและกำลังพลอยู่ในภาวะไม่ปกติ การทำกิจวัตรหรือปฏิบัติงานไม่สามารถทำได้เหมือนในภาวะปกติ และเป็นคืนเดือนมืดเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น มีข้อจำกัดในการและช่วยเหลือ และคลื่นลมแรงทำให้ลูกเรือถูกพัดกระจายตัวออกไป และเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอด
วัตถุประสงค์ในการสำรวจครั้งที่ 4 คือ ค้นหาศพที่ติดค้างในเรือ ซึ่งไม่พบ ปลดวัตถุอันตราย และสำรวจภายในและภายนอก และการจมมาจากการที่น้ำเข้าเรือ จาก 2 กรณี คือ 1.จากทางท้องเรือ ทำให้สูญเสียกำลังลอย 2.น้ำเข้าทางด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือ (จุด CG)ทำให้เรือเอียง สุดท้ายทำให้ทราบว่า เรือหลวงสุโขทัยเอียงก่อนโดยน้ำเข้าทางดาดฟ้าและจากนั้นจึงจมทางท้ายเรือ
ซึ่งในระหว่างการแถลง ด้าน นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ออกมายอมรับว่า ตามที่ผู้บังคับบัญชาได้ที่แจงเสร็จสิ้นแล้วนั้น ตนในนามของผู้บังคับการเรือ ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อครอบครัวของผู้ที่สูญเสีย สำหรับกำลังพลที่สูญเสียทางกองทัพเรือ ได้ช่วยเหลือเยียวยาและเต็มที่ในขณะที่กำลังพลที่รอดชีวิตทุกภาคส่วน และก็ไม่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ และแก้ปัญหาตลอดจนให้กำลังใจ ผ่านช่วงเวลาโศกเศร้ามาได้
- บุกทลาย! โกดังยากันยุงเถื่อน จ.พิจิตร สูดดมเข้าไปอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
- เปิดสาเหตุ “เรือหลวงสุโขทัย” ล่ม กองทัพเรือชี้ เพราะอากาศเปลี่ยนฉับพลัน
- สาวงงหนักมาก! เจอมนุษย์ป้ามานั่งตากแอร์ในรถ พร้อมเผยตอนจบสุดพีค
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือหลวงสุโขทัยผมขอยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผู้ใดตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ผมและกำลังพลทุกนายได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างสุดความสามารถ เพื่อกู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และได้พยายามแก้ไขสถานการณ์ตามขั้นตอน ในเหตุวิกฤตที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินกว่าที่จะควบคุมได้
ในสถานการณ์วิกฤต และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้น ในฐานะผู้บังคับการเรือจำเป็นจะต้องมีการตัดสินใจ ดังนั้นการนำเรือกลับสัตหีบจึงมาจากการใช้ดุลพินิจของผม ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เรือยังอยู่ในสภาวะปกติไม่เอียง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือสามารถควบคุมได้ จึงเชื่อว่าสามารถนำเรือกลับได้
แต่หลังจากที่ตัดสินใจนำเรือกลับ เกิดการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของสภาพอากาศเลวร้ายกว่าเดิม ซึ่งการตัดสินใจของผมอาจเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบ จึงส่งผลต่อการส่วนตัวที่เกิดขึ้น ดังนั้น ผมในฐานะผู้บังคับการเรือขอแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ขอยอมรับโทษตามกองทัพเรือภาคที่ 1 และผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะเห็นควร นอกจากนี้แล้วหลังจากเรื่องทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว “ผมขอแสดงเจตจำนงค์ ลาออกจากกองทัพเรือ ที่เป็นถิ่นกำเนิดและบ้านเกิดการอบอุ่นของผมและเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรวมถึงเป็นการดำรงไว้ซึ่งเกียร์ 2 ตำแหน่งผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยที่ทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดำรงมา”