องคมนตรี คืออะไร บทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร หลัง ลุงตู่ ได้รับตำแหน่ง

Home » องคมนตรี คืออะไร บทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร หลัง ลุงตู่ ได้รับตำแหน่ง
องคมนตรี คืออะไร บทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร หลัง ลุงตู่ ได้รับตำแหน่ง

องคมนตรี

เปิดทำความรู้จัก องคมนตรี คืออะไร และมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไรบ้าง หลัง พลเอกประยุทธ์ เพิ่งได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งเมื่อวานนี้

วันที่ 30 พฤสจิกายน 2566 มีรายงานว่า เมื่อวันที่ (29 พ.ย. 66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ระบุข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม” ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

องคมนตรี (2)

องคมนตรี คืออะไร

คณะองคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ไทย องคมนตรีตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด จะต้องมีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 18 คน ประธานองคมนตรีคนปัจจุบันคือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด สำนักงานองคมนตรีอยู่ที่ทำเนียบองคมนตรี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

  • กระทรวงยุติธรรม โร่แจง ย้ายอธิบดี DSI ครั้งนี้เกี่ยวกับ หมูเถื่อน หรือไม่?
  • ขั้นตอนการลงทะเบียนแก้ไขหนี้นอกระบบ ด้วยแอปฯ ThaID เริ่ม 1 ธ.ค. 66
  • เคาะแล้ว! ขึ้นค่าไฟ เกือบ 5 บาทต่อหน่วย เริ่มบิลรอบ ม.ค. 67 เป็นต้นไป

ประวัติ องคมนตรี

คำว่า “องคมนตรี” ในภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) จำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2437 ได้ยกเลิกไปและจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นแทน) และปรีวีเคาน์ซิล (Privy council) หรือ ที่ปฤกษาในพระองค์ จำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา)
-ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 40 คน ตั้งเป็น สภากรรมการองคมนตรี ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ขึ้นใหม่ทุกปีในวันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เมื่อสิ้นรัชสมัยจึงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน
-ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น 3 องค์กร คือ อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา และสภากรรมการองคมนตรี โดยอภิรัฐมนตรีสภาก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวน 5 พระองค์ ซึ่งทรงเคยรับราชการตำแหน่งสำคัญในรัชกาลที่ 5
-เมื่อมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระยะแรกคณะราษฎรได้มีประกาศยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา และพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 และว่างเว้นมาเป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 จึงมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกันโดยกำหนดให้มี “คณะอภิรัฐมนตรี” ทำหน้าที่นี้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะองคมนตรี” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และใช้มาตราบจนถึงปัจจุบัน

องคมนตรี (1)

บทบาทและหน้าที่ขององคมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา รวมทั้งปฏิบัติภารกิจตามที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนดหรือทรงมอบหมาย การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

องคมนตรีเป็นข้าราชการในพระองค์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการในพระองค์ตำแหน่งอื่นนอกจากองคมนตรี พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

คณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง ด้านถนนสนามไชย โดยมีสำนักงานองคมนตรี ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ คอยสนับสนุนภารกิจขององคมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมหากษัตริย์ และการอื่นตามพระราชอัธยาศัย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ