นายกตู่ เตรียมหารือร่วมกับ ว่าที่ ผู้ว่ากทม. ชัชชาติ เรื่องการต่อสัญญาสัมปาน BTS ย้ำ! ต้องตรวจสอบกันอย่างละเอียด
จบไปแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ประจำปี 2565 โดยการเลือกตั้งในปีถือนี้เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 11 ครั้งแรกในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556 ที่ล่าช้าไปเพราะรัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยในปีนี้ มีผู้ลงสมัครเยอะถึง 31 คน มีทั้งผู้ลงสมัครอิสระและผู้สมัครมีสังกัด
และพวกเราชาวกรุงเทพก็ได้ ว่าที่ ผู้ว่ากทม. คนใหม่อย่างนาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. หมายเลข 8 ขึ้นแท่น ผู้ว่ากทม. คนใหม่ หลังจากได้รับคะแนนความไว้วางใจจากชาวกทม. อย่างท่วมท้น โดยนำโด่งมาอย่างต่อเนื่อง คะแนนนำแทบทุกเขต ทุกคูหา กว่าหลายแสนคะแนน
ล่าสุด (25 พ.ค. 65) ทางเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ก็ได้โพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นเตรียมหารือเรื่องการต่อสัญญาสัมปานรถไฟฟ้า BTS ร่วมกับว่าที่ ผู้ว่ากทม. อย่าง ชัชชาติ สินพันธุ์ พร้อมย้ำมี 3 เรื่องที่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด
ท่าที ‘ชัชชาติ’ เรื่องรถไฟฟ้า ครับ …
‘ชัชชาติ’ ย้ำต่ออายุสัมปทาน BTS ต้องผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน รวมทั้งสัญญาจ้างเดินรถ รอตรวจสอบหนี้ค่าก่อสร้างรัฐโอนให้ กทม.รับผิดชอบ ถูกต้องหรือไม่
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.กล่าวถึงการต่ออายุสัมปทาน ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่ารอหารือกับนายชัชชาติว่า ต้องดูรายละเอียด 3 เรื่อง คือ เรื่องหนี้สิน , สัญญาเดินรถ และเรื่องการต่อสัญญา 40 ปีโดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ“คงต้องมีการถามกลับไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ทำไมถึงต้องต่อสัญญาสัมปทานถึง 40 ปีโดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพราะผมมองว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นเรื่องดีที่มีคนนอกหน่วยงานมาดูแล ไม่ใช่แค่คณะกรรมการชุดเล็กๆ ที่ตั้งขึ้นมา และมีการแข่งขันราคากัน ซึ่งหากมีการแข่งขันราคา ก็จะได้เห็นราคาที่เป็นธรรมขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้มีอคติว่าผิดหรือถูก แต่เชื่อมั่นในระบบที่มี พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ”
นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า กรณีหนี้สินค่าก่อสร้างที่รัฐบาลโอนมาให้ กทม. กว่า 6 หมื่นล้านบาท ต้องดูว่าผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่ สภา กทม. รับรองมีมติหรือยัง ซึ่งหากมีมติรับถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องว่าไปตามหลักการ รวมถึงพิจารณาถึงสัญญาจ้างการเดินรถที่ผ่านมา ถูกกฎหมาย มี พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาจ้างระยะยาว
ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า คงไม่ได้พูดคุยกับรัฐบาลโดยตรง แต่จะส่งเป็นหนังสือชี้แจงความเห็นเข้าไปเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตนมองว่า กทม. เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจของรัฐบาลเท่านั้น และมองว่าควรต้องคิดให้รอบคอบก่อน เพราะถ้าผ่าน ครม. แล้วคงแก้ไขยาก และ ครม. เองยังมีการเห็นแย้งกัน ดังนั้นคงไม่ผิดที่จะขอดูให้ละเอียดก่อน ยืนยันว่าเป็นเรื่องเหตุผล ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ และส่วนตัวยืนยันในหลักการว่า หากไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เท่ากับไม่ตรงตามหลักการของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะผ่าน ม.44 มา
ส่วนในอนาคตจะมีการใช้บัตรใบเดียวในการเชื่อมต่อการเดินทางหรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่า บัตรใบเดียวเข้าทุกระบบได้ก็มีความเป็นไปได้ แต่ที่กังวลคือโครงสร้างราคาที่เป็นธรรมที่มีความซ้ำซ้อน เพราะบัตรใบเดียวอาจจะจ่ายแพงเนื่องจากมีค่าแรกเข้า ตนมองว่า กทม. กับ BTS ควรต้องหารือกันเองก่อนว่าถ้ามีส่วนต่อขยายเข้ามาพื้นที่สัมปทาน BTS เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่มีค่าแรกเข้า และหากมีโอกาสหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก็ควรหารือถึงราคาค่าแรกเข้าด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
อ่านข่าวที่น่าสนใจ
- โดนใจวัยรุ่น! รวมคอนเทนต์หาเสียงของ ว่าที่ ผู้ว่ากทม. ชัชชาติ ใน tiktok
- เช้านี้กับชัชชาติ วันแรกหลังรับตำแหน่ง ผู้ว่ากทม. เผยต้องดูแลให้ครบ 6 ล้านคน
- วันนี้มาแปลก! หมอเหรียญทอง ขออย่าเพิ่งต่อต้านชัชชาติ ระแวงได้ ไม่ไว้วางใจได้ แต่ต้องให้โอกาส