หัวหน้าศูนย์จีโนม รามาฯ เผย โควิดสายพันธุ์ "มิว" ไม่น่าห่วงเท่า "เดลตา" ที่ระบาดในอินเดีย

Home » หัวหน้าศูนย์จีโนม รามาฯ เผย โควิดสายพันธุ์ "มิว" ไม่น่าห่วงเท่า "เดลตา" ที่ระบาดในอินเดีย

หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ชี้ ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่มิว ที่ล่าสุดพบติดเชื้อในญี่ปุ่น ไม่น่ากังวลเท่าสายพันธุ์ย่อยเดลตา ที่พบในอินเดีย เพราะสัดส่วนการติดเชื้อของมิวน้อยกว่า อีกทั้งพบที่สถานกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

โดย ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี อธิบายว่า แม้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่มิว หรือ B.1.621 ที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เฝ้าระวัง อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่กำลังถูกจับตามองหรือมีความน่าสนใจ (Variant of Interest)

แต่การพบกับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ 2 คน ในประเทศญี่ปุ่นนั้น อยู่ในสถานกักตัวแล้ว เชื่อมั่นว่า หากไม่ติดเชื้อติดต่อกัน ภายใน 2-3 วัน เชื้อก็จะฝ่อหมดไปเอง และเมื่อวิเคราะห์สัดส่วนการระบาดในต่างประเทศสายพันธุ์มิวก็ยังน้อยมาก แม้จะแพร่ระบาดไป 39 ประเทศแล้ว

แต่หากเทียบกับสายพันธุ์ย่อยของเดลตา AY.1.2 ที่ระบาดในอินเดียนั้น น่ากังวลมากกว่าสายพันธุ์มิวที่พบในญี่ปุ่น เพราะอินเดียมีพรมแดนเชื่อมต่อกัน ทางประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ต้องเฝ้าระวังเข้าไทยมากกว่าญี่ปุ่นที่ระยะทางไกลและผู้ติดเชื้อก็อยู่ในสถานกักตัวแล้ว

ขณะเดียวกัน ในส่วนของไทยก็เฝ้าระวังอยู่ แต่ยืนยันว่ายังไม่เข้ามาในไทยขณะนี้ จึงขอให้ตระหนักแต่ไม่ควรตระหนกตกใจ

  • อะไรนะ? อนามัยโลกจับตา โควิดสายพันธุ์มิว (B.1.621) แม้แต่วัคซีนอาจจะต้านไม่ได้

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ