ตู้เย็นอาจไม่ปลอดภัย! ผัก 5 ชนิด ที่ควรเก็บในที่แห้ง เพื่อยืดอายุและรักษาคุณค่าอาหาร ที่สำคัญคือปลอดภัยจากเชื้อราและสารพิษ
แม้แต่ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพมากที่สุด ก็อาจมองข้ามว่าในตู้เย็นของพวกเขาอาจมีสิ่งของที่สามารถสร้างสารพิษได้ โดยผลการศึกษาชี้ว่า ตู้เย็นอาจไม่ปลอดภัยอย่างที่เราคิด และการเก็บผักบางชนิดชนิดไว้ในตู้เย็น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเมื่อรับประทานเข้าไป
จากข้อมูลของสำนักข่าว Daily Mail หลายคนเข้าใจถึงอันตรายของการเก็บเนื้อสัตว์และปลาสดในตู้เย็นโดยที่ไม่ได้ปิดฝาให้มิดชิด แต่พวกเขากลับไม่รู้ว่า “ผักบางชนิด” ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารแนะนำว่า ควรเก็บผัก 5 ชนิดนี้ไว้บนเคาน์เตอร์หรือในตู้เก็บของ แทนการเก็บไว้ในตู้เย็น เพราะอาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโต ทำให้รสชาติและความสดกรอบเปลี่ยนแปลงไป
หอมใหญ่
หอมใหญ่เป็นผักในตระกูลอัลลิอัม (Allium) และไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำและสภาพแวดล้อมที่ชื้นในตู้เย็น จะทำให้แป้งในหอมใหญ่เปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้หอมใหญ่เน่าเสียเร็วขึ้น ดังนั้น เพียงเก็บไว้ในที่แห้ง ที่อุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ปอกเปลือกหรือหั่นแล้ว นักวิชาการจึงแนะนำให้เก็บในกล่องที่ปิดมิดชิดในตู้เย็น
“Margaret Cooper” ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาและความปลอดภัยของอาหาร จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ชี้ว่าหอมใหญ่ทั้งหัวสามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน หรือแม้กระทั่งครึ่งปี หากเก็บไว้ในที่แห้งและมีการระบายอากาศที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม หอมใหญ่ต้องมีสภาพดี ไม่มีรอยแตกหรือเริ่มงอก พร้อมทั้งแนะนำให้เอาหอมใหญ่ออกจากถุงพลาสติก เพราะถ้าเก็บในถุงที่ไม่สามารถระบายอากาศได้ จะทำให้ความชื้นสะสมในถุง เป็นสภาพที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราและจุลินทรีย์อื่นๆ ที่จะเจริญเติบโต ทำให้หอมใหญ่เน่าเร็วขึ้น
กระเทียม
กระเทียมก็เป็นสมาชิกของตระกูลอัลลิอัมเช่นเดียวกับหอมใหญ่ และวิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน การเก็บในตู้เย็นอาจทำให้กระเทียมงอกได้ในไม่กี่วัน ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการเก็บรักษาสั้นลง และยังอาจทำให้รสขมและเปลี่ยนรสชาติของอาหารได้ แต่ก็ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพในระดับที่รุนแรง
ขิง
ขิงทั้งหัวที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกสามารถเก็บได้หลายสัปดาห์ในที่แห้งและเย็น แต่อุณหภูมิที่ต่ำและสภาพแวดล้อมที่ชื้นในตู้เย็น จะทำให้ขิงที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นได้ และยังสามารถลดความเผ็ดของขิง ทำให้รสชาติของอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเปลี่ยนไป
ทั้งนี้ การสูดดมสปอร์เชื้อราจากเปลือกขิง อาจทำให้มีอาการจาม คัดจมูก ผื่นผิวหนัง หรืออาการหอบหืดกำเริบ บางชนิดของเชื้อราอาจทำให้คลื่นไส้ ปัญหาทางเดินอาหาร สร้างความเสียหายที่ตับและไต รวมถึงลดความสามารถในการต้านทานโรคเมื่อรับประทานเข้าไป
แตงกวา
แตงกวามีความไวต่ออุณหภูมิที่ต่ำและสภาพแวดล้อมที่ชื้นมาก สามารถทำให้นิ่มและเน่าได้อย่างรวดเร็ว การเก็บในที่ที่มีความชื้นสูงจะเป็นสภาวะที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย Salmonella และ E. coli ซึ่งสามารถเติบโตบนแตงกวาที่เน่า หากเก็บในตู้เย็นโดยไม่ใส่ในกล่องที่ปิดมิดชิด ความชื้นจะสะสมและทำให้แตงกวาเน่าเร็วขึ้น
ควรบริโภคแตงกวาภายใน 3 วันหลังการเก็บ และรสชาติของแตงกวามักจะรักษาได้ดีที่สุดเมื่อเก็บไว้บนเคาน์เตอร์ในอุณหภูมิห้อง แม้อายุการเก็บจะสั้นลงเหลือเพียงไม่กี่วัน ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเก็บแตงกวาใกล้กับผลไม้ที่ปล่อยเอทิลีน (เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ลูกแพร์ กีวี และมะเขือเทศ) เพราะเอทิลีนจะเร่งการเน่าเสียของแตงกวา
พริกหวาน
การเก็บพริกหวานหลากสีในตู้เย็น อุณหภูมิที่ต่ำและความชื้นทำลายโครงสร้างของเซลล์ในพริกหวาน ทำให้มันเสียความกรอบ “Maddy Rotman” ผู้อำนวยการของ Imperfect Foods ซึ่งเป็นบริษัทส่งผักผลไม้ถึงบ้าน กล่าวว่า ความชื้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พริกหวานสูญเสียความกรอบ ดังนั้น ควรเก็บพริกหวานไว้ให้ห่างจากความชื้น
- แพทย์อเมริกัน แนะนำเครื่องดื่ม 3 ชนิด ที่ตับและระบบย่อยอาหาร “ชอบ” ทุกอย่างมีขายในไทย!
- กูรูสหรัฐฯ พูดชัด 1 อาหารที่ “ไม่มีวันกิน!!!” เพราะแบคทีเรียเยอะมาก แต่คนไทยยังกินอยู่