หลายคนเข้าใจผิด! "ทิศทางลมแอร์" ควรปรับเอียงขึ้นหรือลง แบบไหนเย็นเร็ว แถมประหยัดไฟ

Home » หลายคนเข้าใจผิด! "ทิศทางลมแอร์" ควรปรับเอียงขึ้นหรือลง แบบไหนเย็นเร็ว แถมประหยัดไฟ
หลายคนเข้าใจผิด! "ทิศทางลมแอร์" ควรปรับเอียงขึ้นหรือลง แบบไหนเย็นเร็ว แถมประหยัดไฟ

 หลายคนเข้าใจผิด! ผู้ผลิตเฉลยเอง “หน้ากากแอร์” ควรปรับขึ้นหรือลง แบบไหนเย็นเร็ว แถมประหยัดกว่าด้วย

แม้จะใช้เครื่องปรับอากาศมาเป็นเวลานาน และรู้ดีว่าระหว่างการทำงานสามารถปรับทิศทางลมขึ้นหรือลงได้ตามใจชอบ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าควรปรับกระแสลมอย่างไร เพื่อให้เย็นทันใจและประหยัดไฟที่สุด

ยิ่งโดยเฉพาะในฤดูร้อนหรือวันที่อากาศร้อนจัด ผู้ใช้ต้องการอุปกรณ์ทำความเย็นฉ่ำๆ ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงเลือกที่จะเป่าลมลงต่ำ เพื่อให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเป่าเข้าใส่ร่างกายโดยตรง บรรเทาความร้อนอย่างทันทีทันใด อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

วิธีนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหวัดเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำให้ห้องเย็นลงโดยทั่วถึงอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่โดยรวมไม่ได้รับการระบายความร้อนอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศจะใช้เวลาและพลังงานมากขึ้นในการทำความเย็นทั่วทั้งห้อง สุดท้ายก็ยังต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นอีกด้วย

แล้ววิธีที่ดีที่สุดคืออะไร…? ควรปรับทิศทางลมให้เป่าขึ้นด้านบน หรือเป่าลมลงด้านล่าง?

ตามข้อมูลจาก Taiwan Power Company บริษัทรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตไฟฟ้าในไต้หวัน ได้แชร์เคล็ดลับการใช้เครื่องปรับอากาศในผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊ก โดยบอกว่า การหันช่องระบายอากาศขึ้นด้านบนแทนที่จะหันลงด้านล่าง สามารถเร่งการลดอุณหภูมิภายในห้องและประหยัดไฟฟ้าได้มากขึ้น

หลักการง่ายๆ คือ อากาศร้อนจะลอยขึ้น ในขณะที่อากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า จะจมตัวและลงต่ำเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อเครื่องปรับอากาศเป่าลมเย็นขึ้น จะทำให้กระจายลมเย็นได้ทั่วถึงมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรวมลดลงเร็วขึ้น

นอกจากนี้ เมื่ออุณหภูมิลดลงเร็วขึ้น เซ็นเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะตรวจจับอุณหภูมิที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การทำความเย็น และการใช้ปริมาณไฟฟ้าก็จะลดลงด้วย

สอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญจากโครงการระดับชาติ ว่าด้วยการใช้พลังงานอย่างประหยัดและอย่างมีประสิทธิภาพ ของเวียดนาม (VNEEP) ซึ่งมีประสบการณ์หลายปีในสาขาอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องทำความเย็น ที่ให้ความเห็นว่า

“โดยยึดหลักการพื้นฐานของการขยายตัวของอากาศ คือ ลมร้อนเบากว่าลมเย็นเสมอ และสะสมที่ระดับความสูงสูง ในทางกลับกัน อากาศเย็นจะหนักกว่าจึงมักจะลอยลงต่ำเสมอ จากนั้นจึงแผ่ขยายตัว ทิศทางลมที่ต่ำจะทำให้อุปกรณ์ใช้เวลาในการทำความเย็นทั่วทั้งพื้นที่มากขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญจาก VNEEP อธิบาย

ด้วยเหตุผลข้างต้นเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ ผู้ใช้ควรปรับทิศทางลมขึ้นไม่สูงเกินไป แต่ให้อยู่ในระดับปานกลาง ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศเย็นจากอุปกรณ์กระจายอย่างทั่วถึง ทำให้อากาศเย็นกระจายตัวเร็วขึ้นและสม่ำเสมอยิ่งขึ้น ประสิทธิภาพการทำความเย็นก็เพิ่มขึ้นด้วย และเวลาการทำความเย็นก็สั้นลง

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังให้คำแนะนำเพิ่มเติม ระบุว่า แรงลมหรือความเร็วก็มีความสำคัญมากเช่นกัน หากต้องการทำความเย็นในพื้นที่อย่างรวดเร็วผู้ใช้สามารถปรับแรงลม-ความเร็วลมให้สูงสุด และใช้พัดลมช่วยในช่วงเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศส่งเสริมกระบวนการไหลเวียนของอากาศในพื้นที่เสียก่อน

  •  หมอเตือน! เด็กชาย 8 ขวบ “หน้าเบี้ยวครึ่งซีก” เพราะวิธี “เปิดแอร์” ที่ทำกันแทบทุกบ้าน
  • หลายคนก็เพิ่งรู้! กฟภ.เฉลยแล้ว บิลค่าไฟใส่ “ดอกจัน” แทนยอดเงินชำระ หมายความว่าอะไร?

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ