เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565 ทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อมูลผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan เผยข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 2 ระบะว่า โรคโควิด 19 เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปการเป็นซ้ำ มักจะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้ว แต่ก็มีหลายคน เป็นซ้ำแบบมีอาการและตรวจพบชัดเจนตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป การเป็นซ้ำพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
- อนุทิน พร้อมเป็นนายกฯ ชูนโยบายเด็ดลงพื้นที่ จ.ลพบุรี ลั่นที่ผ่านมาทำได้จริง
- เปิดเงื่อนไขเริ่มลงทะเบียน คนละครึ่งเฟส 5 ประชาชน – ร้านค้า ซื้ออะไรได้บ้าง
- เช็กเลย หักกี่บาท ส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตราไหนหักเท่าไหร่
จากการศึกษาของเรา ที่ศูนย์ จุฬา ในผู้ป่วยที่ยืนยันหลักฐานว่าเป็นซ้ำ ครั้งที่ 2 ประมาณ 40 คน คน การเป็นครั้งที่ 2 มีทั้งที่มีอาการมากกว่า และมีอาการน้อยกว่า แต่ส่วนใหญ่ จะมีอาการน้อยกว่า และการรักษาในกรณีที่เป็นซ้ำ ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ ในการเป็นครั้งแรกเกือบทั้งหมดได้รับยาต้านไวรัส favipiravir และเมื่อเป็นครั้งที่ 2 ไม่มีใครที่มีอาการหนัก หรือปอดบวม จนระดับออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเลย อาจจะเป็นเพราะว่าระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นทั้งวัคซีน และการติดเชื้อช่วยลดความรุนแรง และมีหลายรายติดเชื้อแล้วยังได้รับวัคซีนอีก ทำให้การเป็นซ้ำครั้งที่ 2 ความรุนแรง ถึงขั้นรุนแรงมากน้อยลงอย่างมาก
- ตามคำจำกัดความของการเป็นซ้ำ ส่วนใหญ่จะให้ระยะห่างจากการเป็นครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ห่างกัน 3 เดือน
- โรคนี้จึงคล้ายกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป เช่นไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดทั่วไป ที่เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก
- ดังนั้นในผู้ป่วยที่เคยเป็นแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนในระยะเวลาที่เหมาะสมเรากำหนดไว้ว่า
- ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม เมื่อติดเชื้อ ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปหลังติดเชื้อวันแรก
ถ้าฉีดวัคซีนมาแล้วครบ 2 เข็มหรือมากกว่า แล้วติดเชื้อ การติดเชื้อจะเปรียบเสมือนเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ภูมิต้านทานจากกระตุ้นได้ดี ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังติดเชื้อ 6 เดือนขึ้นไปนับจากวันที่ติดเชื้ออีก 1 ครั้ง เพื่อรักษาระดับภูมิต้านทานให้คงสูงอยู่ลดการติดเชื้อซ้ำ