เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ทางด้านรศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุถึงข้อมูลจากภูมิคุ้มกันวัคซีนโควิดคนไทย ระบุว่า
- สาวเป็นงง สั่งทำป้ายไวนิล จ่ายเงินครบตามจำนวน แต่จู่ๆมาบอกของไม่มี
- สะดวกยิ่งขึ้นแนะช่องทางรับ-จ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40
- องค์กรสวัสดิภาพสัตว์ รณรงค์ให้สาวๆอย่า มีเซ็กซ์ กับชายหนุ่มที่บริโภคเนื้อสัตว์
เมื่อมีเกิดก็ย่อมมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา หลายคนคงทราบข่าวการเตรียมสลายตัวของศบค.และพรก.ฉุกเฉินบริหารสถานการณ์โควิด แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องเตรียมตัวกันต่อไปในอนาคตข้างหน้า
จากการสำรวจภาวะภุมิคุ้มกันของประชาชนโดยกระทรวงสาธารณสุข ช่วงเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. ที่ผ่านมา ในประชากรราวหนึ่งหมื่นสามพันคนทั่วประเทศ พบว่าคนไทยมีภูมิต่อโควิดแล้ว 91% โดยหนึ่งในสามเป็นภูมิจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งภูมิส่วนใหญ่นี้กันตายได้ค่อนข้างแน่ ถ้าประมาณว่าภูมิที่มีนี้ กันติดได้สักครึ่งหนึ่งก็จะเหลือราว 45% แต่ในช่วงเดือน มิ.ย. จนถึง ก.ย. นี้ เราน่าจะติดเชื้อกันอีกอย่างน้อยสิบล้านคน ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า ถ้าฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วติดด้วย ภูมิกันติดซ้ำจะขึ้นดีมาก และอยู่ได้นาน 3-6 เดือน
ดังนั้นถึงวันนี้ผมเชื่อว่าคนไทยมีภูมิกันติดไปจนถึงปลายปีนี้กันได้เกิน 70% แล้ว นั่นคือการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ตัวเลขการติดเชื้อขณะนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังตัวกันต่อ ในขณะที่เพิ่มการทำกิจกรรมนอกบ้านกันให้มากขึ้นตามลำดับ การใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในที่สาธารณะซึ่งแออัดยังมีความจำเป็น อย่างที่เน้นย้ำไปแล้วหลายครั้ง จุดสลบหรืออาจเป็นจุดตาย คือ หากปล่อยตัวกันเกินไปอาจนำมาซึ่งเชื้อสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปมาก (โอกาสเป็นไปได้น้อย) อีกอย่างในปีหน้าที่ภูมิกันติดจะได้เวลาตกลงมาก จึงต้องมีวัคซีนรุ่นใหม่มาช่วยกระตุ้นกันอีก 1-2 เข็ม
เมื่อชีวิตเริ่มกลับเข้าร่องรอยเดิมมากขึ้น คนกรุงเทพคงยกกันออกมานอกบ้านเป็นเงาตามตัว คนต่างจังหวัดก็จะกลับเข้ามาทำงานในเมืองหลวงมากเช่นเดิม การฉีดวัคซีนให้พวกเขาเหล่านี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ทั้งสถานที่ฉีด และช่วงเวลาที่ฉีด รวมถึงขั้นตอนในการฉีดและสังเกตอาการที่น่าจะลดไปกว่าเดิมได้มาก เพราะจากการที่ฉีดกันมาราว 143 ล้านโด๊ส มีอาการแพ้รุนแรงแค่ 98 ราย โดยราวครึ่งหนึ่งเกิดจากวัคซีนของซิโนแว็ค ซึ่งปัจจุบันมีที่ใช้น้อยเต็มทีแล้ว
เรื่องการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศทั้งในที่สาธารณะและในตัวอาคาร เป็นวาระแห่งชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในอนาคต เพื่อลดภาระด้านสุขภาพปอด จากโรคติดเชื้อทางการหายใจ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และโรคอุบัติใหม่จากไวรัสในอนาคต รวมถึงโรคจากมลพิษที่สำคัญคือ PM2.5 โดยจะต้องมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุดมศึกษาฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรมฯ และอื่นๆ โดยจับมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เองในประเทศ รวมถึงดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงด้านนี้และสร้างรายได้จากการส่งออก …”
ขอบคุณข้อมูล – นิธิพัฒน์ เจียรกุล
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY