เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น “หมอของขวัญ” อธิบายชัด ความน่ากลัวของ “โอไมครอน” เป็นเชื้อที่ร่างกายไม่รู้จัก ร้อง! หยุดเปิดประเทศเสรี ใช้PCR มรการตรวจเชื้อ
สถานการณ์โควิดระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะรับมือกับมัน และพยายามที่จะอยู่กับมันได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ทั่วโลกต้องกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง เมื่อตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อเรียกว่า “โอไมครอน” ต้นกำเนิดจากแถวแอฟริกาใต้ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังยกให้เป็นตัวแปรที่น่าจับตาอีกด้วย ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะยังมีไม่มาก แต่ก็ตรวจพบอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ทางด้านของข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ เราก็ยังมีไม่มาก และไม่รู้ว่าวัคซีนที่เราฉีดไป จะสามารถป้องกันได้มากน้องเพียงใด หลายประเทศหวั่นว่าเชื้อตัวใหม่จะทำให้ประเทศต้องกลับไปอยู่ในสภาพเช่นเดียวกับการระบาดของเชื้อเดลต้า
- ผู้เชี่ยวชาญเตือน! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาจแทนที่สายพันธุ์เดลต้า ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักทั่วโลก
- ยังไงต่อละทีนี้? CEOโมเดอร์นา ชี้! วัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน น่าจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ “โอไมครอน”
เชื่อว่าหลายคนคงเป็นกังวลถึงความน่ากลัวของเชื้อโควิดตัวใหม่ อีกทั้งหากให้ไปหาอ่านตาสื่อต่างประเทศ ทั้งภาษาและศัพท์ทางการแพทย์คงเป็นเรื่องยากที่เราจะทำความเข้าใจ แต่ทางด้านของคุณหมอของขวัญ หรือ แพทย์หญิงของขวัญ ฟูจิตนิรันดร์ วินธุพันธ์ หรือ หมอเคท เจ้าของธุรกิจความงาม “ของขวัญคลินิก” อธิบายเกี่ยวกับความน่ากลัวของเชื้อโควิดโอไมครอน ผ่านทางไลฟ์สด #WhatToKnow EP 50 ของทาง VOICE TV
ซึ่งช่วงหนึ่งของการไลฟ์หมอของขวัญพูดถึงความน่ากลัวของเชื้อโอไมครอน ระบุว่า นับตั้งแต่ที่เราพบเชื้อมาไม่ถึง 10 วัน เราทราบแล้วว่าเชื้อกลายพันธุ์ทั้งหมด 70 กว่าตำแหน่ง และน่ากลัวตรงที่กว่า 30 ตำแหน่งนั้นกลายพันธุ์ที่เหล็กใน เป็นตัวที่มีผลต่อปอดของเรา เป็นเหตุผลที่ทำให้เชื้อตัวนี้น่ากลัว อีกทั้งมันยังแพร่ได้ไว เพราะเป็นairborneที่แท้จริง คือเชื้ออยู่ในอากาศ ไม่จำเป็นต้องติดต่อผ่านระลองน้ำลาย
- ทั้งนี้เชื้อกลายพันธุ์กว่า 70 ตำแหน่ง หน้าตาจึงไม่เหมือนกับเชื้อโควิด ทำให้ร่างกายไม่รู้จักเชื้อตัวนี้ วัคซีนที่ฉีดไปจำไม่ได้ว่าเป็นเชื้อโควิดหรือไม่ เพราะกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง
- หมอยง ชี้การตรวจหา โอไมครอน ต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเฝ้าระวังและควบคุม
ทั้งนี้หมอของขวัญยังร้องถึงรัฐบาลถึงการเปิดประเทศ ให้หยุดการเปิดประเทศเสรี และให้กลับไปใช้การตรวจหาเชื้อโควิดแบบวิธี PCR ซึ่งมีข้อเสียคือใช้เวลานาน และไม่ควรทำ fit to fly 72 ชม ควรจะมีการตั้งจุดบริการตรวจโควิด PCR ที่สนามบิน โดยทราบผลไม่เกิน 2 ชม อีกทั้งยังแนะว่าก่อนขึ้นเครื่องควร ATK ซ้ำอีก 1 รอบ เป็ฯสิ่งที่ทั่วโลกควรจะทำ
ข่าวที่น่าสนใจ