ยังคงอยู่ในบรรยากาศแห่งความโศกเศร้า หลังจากที่เมื่อวานนี้ 5 ธันวาคม 2566 ได้มีข่าวร้ายที่ทำให้ชาวโซเชียลอาลัยเป็นอย่างมาก กับการจากไปของ หมอกฤตไท เจ้าของ เพจสู้ดิวะ โดยคุณพ่อของหมอกฤตไท นั้นได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ไทภัทร ธนสมบัติกุล ซึ่งโพสต์เป็นรูปภาพแคปเจอร์หน้าจอ และมีรูปหมอกฤต พร้อมกับเวลา 10.59 น. และระบุข้อความประกอบภาพว่า “เดินทางปลอดภัยครับ ลูกชาย #สู้ดิวะ”
หลังจากนั้นทั่วโลกโซเชียลต่างอาลัยกับการสูญเสียในครั้งนี้ ทั้งนักแสดง นักการเมืองหลายๆคน ร่วมไปถึงเพจต่างๆ ก็ได้ระลึกถถึง หมอกฤตไท และอีกหนึ่งคนที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้นคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยคุณหญิงสุดารัตน์ นั้นมุ่งเน้นไปยังประเด็นของ ฝุ่น PM 2.5 และเชิญชวนให้คนไทยตระหนักถึง พรบ.อากาศสะอาด ที่หมอกฤตไทได้พูดไว้บ่อยๆเพื่อจุดประกายการขับเคลื่อนเรื่องอากาศ เพราะจังหวัดที่หมอกฤตไทอยู่คือจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงใหม่ก็ขึ้นชื่อเรื่อง ฝุ่น PM 2.5 เป็นจังหวัดที่อากาศไม่สะอาดเป็นอันดับต้นๆของประเทศเรา โดยคุณหญิงสุดารัตน์ นั้นระบุข้อความว่า
ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อการจากไปของ #หมอกฤตไท คุณหมอได้สอนให้เรารู้ว่า“ชีวิต”นั้นสั้นนัก หมอได้จุดประกายให้สังคมตระหนักถึงภัยฝุ่นPM2.5ที่ทำให้คนไทยตายผ่อนส่ง ร่วมกันสานปณิธานคุณหมอผลักดัน #พรบอากาศสะอาด คืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทยให้สำเร็จ ขอให้คุณหมอหลับให้สบาย #สู้ดิวะ
หากมี พรบ.อากาศสะอาด ประชาชนจะได้อะไรบ้าง?
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
ผลักดันให้มีหน่วยงานที่ “กำกับดูแล” การทำงานของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดจริงจังขึ้น และ “บูรณาการ” การทำงานไม่ทำแบบเป็นไซโล
- กระจายอำนาจในการกำกับดูแลให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เปิดโอกาสให้ประชาชน “ร่วม” จัดการอากาศสะอาดสามระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับกำกับดูแล และระดับปฏิบัติ เพื่อปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดของประชาชน
- กระจายข้อมูล ความรู้เรื่องสิทธิอย่างเท่าเทียม มีช่องทางให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องอากาศ รวมถึงช่องทางการร้องเรียนปัญหาด้านคุณภาพอากาศ ร้องเรียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ มีช่องทางในการตรวจสอบและเรียกร้องการเยียวยาได้
- อากาศสะอาด ถูกรับรองเป็นสิทธิที่เราต้องได้รับ สิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด จะถูกรับรองว่าเป็นสิทธิของประชาชน ก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้เกิดสิทธินี้ขึ้นจริง
- เน้นสร้างสุขภาพที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี กำหนดเป้าหมายสำคัญของการดูแล เรื่องอากาศสะอาด โดยเน้นให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพดี และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ที่มา : https://techsauce.co/