สุดล้ำ! นักวิทยาศาสตร์ยุโรป สร้าง AI แปลเสียงของ หมู ว่ารู้สึกอย่างไร

Home » สุดล้ำ! นักวิทยาศาสตร์ยุโรป สร้าง AI แปลเสียงของ หมู ว่ารู้สึกอย่างไร

AI แปลเสียงหมู

นักวิทยาศาสตร์ยุโรป พัฒนาโปรแกรม AI ที่สามารถฟังเสียงของ หมู โดยบันทึกตัวอย่างเสียงมากกว่า 7 พันเสียง และแปลให้เกษตรกรรู้ว่ารู้สึกยังไง

เกษตรกรที่เลี้ยงหมูอาจจะประสบปัญหาในการเลี้ยงหมู ที่ไม่รู้ว่าเวลาที่พวกมันส่งเสียงร้องนั้นต้องการที่จะสื่อสารอะไรกับผู้เลี้ยง หากเรารู้ความหมายที่หมูส่งเสียงร้องออกมานั้นว่าต้องการอะไร หรือว่ามีอาการบาดเจ็บอะไรตรงไหน ก็จะช่วยให้เกษตรกกรดูแล และเลี้ยงหมูได้ง่ายมมากยิ่งขึ้น หากสมัยก่อนพูดเรื่องนี้ขึ้นมาอาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ในยุคนี้เรื่องที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้ กลับกลายเป็นไปได้แล้ว

เมื่อล่าสุด มีนักวิทยาศาสตร์ในยุโรปได้พัฒนาอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถตีความเสียงของหมู โดยมุ่งหวังที่จะสร้างเครื่องมือช่วยให้เกษตรกรเข้าใจหมูได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลงานของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ในประเทศเดนมาร์ก โดยทีมวิจัย ใช้วิธีการบันทึกเสียงร้องตัวอย่างจากหมูกว่า 7,000 ตัวอย่าง เพื่อค้นหาว่าแต่ละเสียงหมายถึงอะไร โดยจะแยกบันทึกเสียงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ตอนที่อยู่กับครอบครัว เสียงลูกหมูที่ดูดนมจากแม่ หรือเสียงการต่อสู้ระหว่างหมู และตอนที่พวกมันได้เล่นของเล่น

หมู4
reuters
  • ช็อก! ชาวบ้านพบซาก ปลากระเบนราหูยักษ์ โดนตัดหางลอยเน่า
  • สวนสัตว์ศรีสะเกษ ชวนตั้งชื่อ ลูกฮิปโปโปเตมัส ระหว่างวันที่ 28-31 ต.ค. 67
  • ป่วนมาก! ลิงแสบ สวนสัตว์ลพบุรี ชาวเน็ตส่งประกวด สัตว์แปลก ประเทศไทย!?

จากนั้นโปรแกรม AI นี้จะฟังเสียงหมู ถ้าหมูเครียดหรือไม่สบาย โปรแกรมจะบอกเกษตรกร ทำให้เกษตรกรดูแลหมูได้ดีขึ้น คุณ Elodie Mandel-Briefer นักวิจัยบอกว่า เกษตรกรหลายคนดูแลหมูเก่งอยู่แล้ว แต่เครื่องมือที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะวัดแค่สุขภาพร่างกาย ไม่ได้วัดอารมณ์ ซึ่งสำคัญมากต่อความเป็นอยู่ที่ดีของหมู

หมู2
reuters

โปรแกรม AI นี้ใช้เสียงหมูหลายพันเสียงจากหลายสถานการณ์ เช่น เวลาเล่น เวลาอยู่คนเดียว หรือเวลาแย่งอาหาร เพื่อเรียนรู้ว่าเสียงต่างๆ หมายถึงอะไร เช่น เสียงครางสั้นๆ หมายถึงหมูมีความสุข เสียงครางยาวๆ หมายถึงหมูไม่สบายตัว เสียงกรีดร้องหมายถึงหมูเครียด อาจเจ็บปวด ทะเลาะกัน หรือถูกแยกจากกัน

หมู
reuters

โปรแกรมนี้ยังพบว่า หมูที่เลี้ยงแบบปล่อยให้วิ่งเล่น ขุดดิน จะเครียน้อยกว่าหมูที่เลี้ยงแบบปิด ในอนาคต โปรแกรมนี้จะช่วยให้เกษตรกรรู้ว่าหมูรู้สึกอย่างไรผ่านแอปในมือถือ และอาจใช้บอกว่าฟาร์มไหนเลี้ยงหมูดี เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ

ข้อมูลจาก reuters

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ