สุดทึ่ง! หมู่บ้านอาชีพเสี่ยงตายเลี้ยงต่อหัวเสือขายทำเงินสู้โควิด

Home » สุดทึ่ง! หมู่บ้านอาชีพเสี่ยงตายเลี้ยงต่อหัวเสือขายทำเงินสู้โควิด
สุดทึ่ง! หมู่บ้านอาชีพเสี่ยงตายเลี้ยงต่อหัวเสือขายทำเงินสู้โควิด

ที่ จ.นครพนม  ในช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูฝน  ถึงแม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด แต่กับส่งผลดีต่อชาวบ้าน ในพื้นที่ บ้านหนองบัว ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งมีอาชีพเสี่ยงตาย เลี้ยงต่อหัวเสือขาย สร้างรายได้ ในช่วง ฤดูฝน ยาวถึงเทศกาลออกพรรษา ช่วง 3 -4 เดือน  โดยหมู่บ้านแห่งนี้ได้สืบทอดอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ล่าต่อหัวเสือนำรังมาเลี้ยงให้โต ใช้เวลาประมาณ 2 -3 เดือน  ก่อนที่จะนำผลผลิตลูกต่อ ส่งขาย รังละประมาณ 1,500 – 2,000 บาท ซึ่งจะเป็นเมนูเด็ดที่ชาวอีสานนิยมซื้อไปรับประทาน ปรุงสารพัดเมนู แกงต่อ ห่อหมก ผัด ยำ นึ่ง แกง ตามความชอบ  เพราะเป็นเมนูหายากรสชาติอร่อย สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านทุกปี ถึงแม้จะเป็นอาชีพเสี่ยงตาย แต่ชาวบ้านไม่กลัว  เพราะใช้ความชำนาญในการล่า นำมาเลี้ยง ไว้ส่งขาย สร้างรายได้สู้โควิด บางครอบครัว มีความชำนาญล่าต่อหัวเสือได้รังจำนวนมาก สร้างรายได้ เดือนละ 20,000 – 30,000 บาท ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2 -4 เดือน กลายเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูทำนาเป็นอย่างดี

913631
315993

นายสง่า แสงแก้ว อายุ 45 ปี  นายก อบต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม หนึ่งในเซียนล่าต่อหัวเสือ เล่าที่มาของชีพล่าต่อหัวเสือว่า  สำหรับอาชีพล่าต่อหัวเสือเป็นอาชีพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ หลาย 10 ปี  จากเดิม ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม จะเลี้ยงต่อหัวเสือไว้กินเอง จากนั้น มีความชำนาญ และมีจำนวนมากขึ้น จึงเลี้ยงขาย จนเป็นที่ต้องการของตลาด บวกกับ อบต.ปลาปาก ได้ส่งเสริมให้มีการจัดงานเทศกาลต่อหัวเสือ เพื่อส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการท่องเที่ยว มาหลายปี ทำให้เป็นที่รู้จัก และมีลูกค้ามารับซื้อตลอด ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากกการเลี้ยงต่อหัวเสือเป็นอาชีพเสริม ในช่วงฤดูกาลทำนา  ส่วนราคาตกรังละประมาณ 1,500 – 2,000 ตามขนาด สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ครัวเรือนละ 20,000 – 30,000 บาท ต่อเดือน ในช่วงฤดูทำนา แล้วแต่คนที่มีความชำนาญหาได้มาก มีรายได้มาก

540185
544337

นายก สง่า แสงแก้ว กล่าวอีกว่า  ส่วนวิธีการล่าต่อถือเป็นทีเด็ด และเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ต้องมีความชำนาญ  โดยชาวบ้านจะนำเหยื่ออาหารต่อ มี ตั๊กแตน และเนื้อหมู เนื้อวัว ไปล่อแม่ต่อ ที่ออกมาล่าหาอาหาร โดยธรรมชาติขิงต่อหัวเสือ เมื่อได้อาหาร จะนำกลับไปเลี้ยงลูกต่อในรัง โดยชาวบ้านจะหาวิธีทำสัญลักษณ์ ในชิ้นเนื้อ หรือตั๊กแตน เพื่อวิ่งตามแม่ต่อหัวเสือไปหารังต่อในป่า จากนั้นเมื่อพบรังต่อ ในช่วงกลางคืน จะใช้วิธีการย้ายรังต่อจากป่า ด้วยความชำนาญแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มาเก็บรักษาไว้ตามไร่นา  ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ห่างจากคนหรือสัตว์เลี้ยง ส่วนอาหารปล่อยให้โตตามธรรมชาติ หรือสามารถ นำเศษอาหารเนื้อ ไปเลี้ยงให้แม่ต่อหัวเสือนำไปเป็นอาหารได้  ซึ่งธรรมชาติต่อหัวเสือจะเริ่มทำรังในช่วงเข้าฤดูฝน พฤษภาคม – กรกฎาคม จากนั้นพอนำรังต่อหัวเสือมาเลี้ยงไว้ ใช้เวลาประมาณ 2 -3 เดือน รังโตเต็มที่จะสามารถเก็บผลผลิตลูกต่อ ตัวหนอนคล้ายดักแด้ รวมถึงตัวอ่อนแม่ต่อ มาขาย สร้างรายได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญ การเลี้ยงต่อหัวเสือจะต้องมีความชำนาญ เพราะหากพลาดอันตรายถึงชีวิต พิษรุนแรงมาก สำหรับการเก็บผลผลิตจากเดิมเคยใช้ไฟเผาเอารังต่อ ตนและชาวบ้านได้คิดค้นวิธีเพื่อลดการสูญพันธุ์ จึงประดิษฐ์ชุดป้องกันต่อหัวเสือขึ้นมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเข้าไปล้วงเอารังต่อเก็บผลผลิต บางส่วนออกมาขาย ส่วนหนึ่งของรังต่อจะเก็บไว้ เพื่อให้ทำรังเสริม ทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้รังละ 2 -3 รอบ จากเคยได้ผลผลิตครั้งเดียว ซึ่งถือเป็นอีกวิธีการที่จะเพิ่มมูลค่าลดการสูญพันธุ์ นอกจากนี้ต่อหัวเสือไม่เพียงขายผลผลิตลูกต่อ ยังสามารถนำรังต่อที่ร้างไปทำเป็นเครื่องราง ประดับบ้าน เชื่อว่าเป็นมงคลต่อเงินต่อทอง ต่อโชคลาภ โดยจะคัดรังที่มีความสวยงาม นำรังไปลงสีเคลือบเงาให้คงทนถาวรนำไปประดับบ้านเรือน มีราคาสูงถึงรังละ 3,000 – 5,000 บาท  อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเป็นอาชีพเสี่ยงตายแต่ชาวบ้านยังต้องหันมาทำ เพื่อสร้างรายได้เสริมสู้ภัยโควิด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ