สุดทน เหมืองโพแทช ปล่อยน้ำเค็มลงคลอง-ที่นา ไร้รัฐแก้ ย้ำเรื่องเงียบบุกทำเนียบแน่

Home » สุดทน เหมืองโพแทช ปล่อยน้ำเค็มลงคลอง-ที่นา ไร้รัฐแก้ ย้ำเรื่องเงียบบุกทำเนียบแน่


สุดทน เหมืองโพแทช ปล่อยน้ำเค็มลงคลอง-ที่นา ไร้รัฐแก้ ย้ำเรื่องเงียบบุกทำเนียบแน่

นครราชสีมา สุดทน บุก ศลก. ร้อง ผวจ. เหมืองเหมืองโพแทช ปล่อยน้ำเค็มกว่าน้ำทะเล ลงคลองสาธารณะ ที่นาชาวบ้านนาน 5 ปี ไร้หน่วยงานรัฐแก้ไข ย้ำหากเรื่องเงียบ บุกเข้าทำเนียบแน่

26 ก.ค. 2565 ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และชาวบ้านในพื้นที่ ต.ไทรทอง อ.ด่านขุนทด กว่า 50 คน

รวมตัวกันพร้อมถือป้าย คัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่โพแทช ในพื้นที่ ส่งผกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน

ก่อนจะร่วมกันเดินเท้าจากลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พร้อมรถขยายเสียง ไปตามถนนมายังศาลากลางจังหวัด เพื่อขอพบและยื่นหนังสือต่อ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าฯ นครราชสีมา ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่โพแทช ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง นานกว่า 5 ปี

นายดาวรุ่ง บมขุนทด อายุ 47 ปี ชาวบ้านหัวนา ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ชาวบ้านทั้งหมดได้รับความเดือดร้อนจากน้ำจากเหมืองแร่โพแทช ไหลเข้าสู่แหล่งน้ำ พื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน จนดินเค็มไม่สามารถใช้ทำการเกษตรและใช้อุปโภค บริโภคได้

ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาตั้งแต่ปี 2558 ที่โรงงานก่อตั้ง ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้พยายามผลักดันน้ำเค็มแต่ไม่เป็นผล และมีการร้องเรียนกับทางจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แต่เรื่องก็เงียบหาย ไม่มีการดำเนินการใดๆ กับโรงงานดังกล่าว

ชาวบ้านสุดทน จึงต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมอีกครั้ง ให้โรงงานออกมารับผิดชอบ แก้ไข รวมทั้งทางจังหวัด โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการใดๆ ก็ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับชาวบ้าน และหาเรื่องยังเงียบคงต้องมุ่งหน้าไปร้องเรียนต่อ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้จากการวัดค่าความเค็มของน้ำที่ไหลซึมบริเวณวัดหนองไทร ติดกับขอบบ่อพักน้ำของเหมืองมีค่าความเค็มอยู่ที่ 46.4 กรัมต่อลิตร ซึ่งถือว่าเค็มกว่าน้ำทะเล ส่วนน้ำในบ่อของวัดหนองไทร มีค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐาน 58 เท่า

ส่วนบริเวณน้ำหลากในที่นาประชาชนก่อนไหลลงห้วยลำหลอด พบความเค็มสูงกว่ามาตรฐาน 3 เท่า และบริเวณห้วยลำหลอด หรือห้วยลำมะหลอด บริเวณท้ายน้ำพบความเค็มสูงกว่ามาตรฐาน 3.2 เท่า

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ