สุดตะลึง! หญิงป่วยภาวะหายาก พบเขางอกกลางอก ยาว 5 ซม. ทิ้งไว้นาน 2 ปี

Home » สุดตะลึง! หญิงป่วยภาวะหายาก พบเขางอกกลางอก ยาว 5 ซม. ทิ้งไว้นาน 2 ปี



สุดตะลึง! หญิงป่วยภาวะหายาก พบเขางอกกลางอก ยาว 5 เซนติเมตรทิ้งไว้นาน 2 ปี เกิดอาการคัน แพทย์ชี้อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งได้ ต้องรีบทำการรักษา!!

เดลีเมล รายงานเคสสุดหายากที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Annals of Medicine and Surgery โดยหญิงชาวมาเลเซียวัย 63 ปี มีความผิดปกติในร่างกายเกิดเขางอกกลางหน้าอก โดยมีอาการคัน ๆ หาย ๆ ทั่วเขาดังกล่าวร่วมด้วย

หญิงคนดังกล่าวบอกกับแพทย์ว่า เขางอกขึ้นเองตามธรรมชาติที่หน้าอกด้านซ้ายของเธอเมื่อ 2 ปีก่อน ต่อมาเธอมีอาการคัน ทำให้เธอไปโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัย พบว่าเขาที่งอกออกมานั้นมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว)

ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ผลอัลตราซาวนด์ของเต้านมเผยให้เห็นรอยโรคเป็นมวลที่ก่อขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งไม่มีการแพร่กระจายและขยายเข้าไปยังเนื้อเยื่อของเต้านม

ภาพจาก Annals of Medicine and Surgery/Sciencedirect

แพทย์วินิจัยว่า เขาที่ผิวหนังหรือที่รู้จักกันในวงการแพทย์ว่า Cornu Cutaneum หรือ Cutaneous horn ถือเป็นภาวะหายากในประชากรเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นในบริเวณผิวหนังที่มักเปิดเผย ซึ่งเกิดจากการสร้างเคราตินยื่นออกมาจากผิวหนัง โดยเคราตินดังกล่าวเป็นโปรตีนที่พบในเส้นผม ผิวหนัง และเล็บ อีกทั้งเขาที่ผิวหนังเกิดขึ้นพร้อมกับความเกี่ยวพันกับโรคผิวหนังบางชนิดอาจเกิดเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งได้

ต่อมาแพทย์ทำการผ่าตัดและส่งตัวอย่างไปตรวจหาโรคที่ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา พบภาวะเคราตินมากเกินความจำเป็น (Hyperkeratosis) จนเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยเป็นเชื้อหูด Verrucae Vulgaris ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomaviruses (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่อันตราย ตามทั่วไปสามารถเข้าสู่ผิวหนังและทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือก่อให้เกิดหูดได้

หลังจากการตรวจไม่พบมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่มีหูดที่ส่วนอื่นของร่างกายและไม่ได้มีอาการทางผิวหนังอื่น ๆ คณะแพทย์กล่าวว่า “แผลจากการตัดชิ้นเนื้อของเธอหายดีแล้ว และไม่แสดงสัญญาณของการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากที่ทางเราติดตามผลเป็นเวลาหกเดือน ในขณะที่บันทึกผลการวิจัยนี้ เธอมีสุขภาพที่ดีและไม่แสดงอาการกำเริบอีก”

ในกรณีเช่นนี้ การกลับเป็นซ้ำมักเกิดขึ้นเมื่อฐานยังมีเศษบางส่วนที่ไม่ได้ถูกกำจัดออกอย่างเพียงพอระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เขางอกขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการสะสมเคราตินไว้อย่างมหาศาลยังไม่ชัดเจน แต่คณะผู้วิจัยได้ค้นพบอาจมีความเชื่อมโยงกับการได้รับรังสีและรังสียูวี

วิธีเดียวที่จะป้องกันภาวะดังกล่าว คือ การจัดการตั้งแต่เริ่มต้นโดยการตัดชิ้นเนื้อและนำออก ขณะที่ยังมีความยาวไม่มาก ต่อจากนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดขึ้นอีกเนื่องจากการกลับเป็นซ้ำอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง

ขอบคุณที่มาจาก Dailymail Sciencedirect

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ