บางองค์กรต้องการ แรงงานต่างด้าว มาเติมเต็ม ทำให้การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นขั้นตอนที่องค์กรเหล่านั้นจะต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยก็คือคำถามที่ว่าต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง บทความนี้จึงจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยสิ่งที่ HR จะต้องรู้ เพื่อการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้
ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง?
สิ่งที่ HR ต้องรู้เรื่องแรกก็คือการหาแรงงานต่างด้าว เมื่อทางบริษัทหรือองค์กรมีความต้องการในแรงงานดังกล่าว การค้นหาสามารถทำได้ ดังนี้
- 1.ยื่น Demand Letter
ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง สามารถหาได้โดยการยื่น Demand Letter หรือที่เรียกว่าคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวไปยังตัวแทนของประเทศต้นทาง เพื่อให้ทางตัวแทนทำการคัดเลือกแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับแรงงานที่ต้องการ หรือมีความเหมาะสมกับงาน เมื่อทางประเทศต้นทางคัดเลือกแล้วจะส่งบัญชีรายชื่อกลับมาให้ทางบริษัทที่มีความต้องการแรงงาน
- 2.ยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ประเทศต้นทาง
ต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไงนอกจากยื่น Demand Letter ก็คือการยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ประเทศต้นทาง พร้อมกับการแนบเอกสารตามข้อกำหนด
- 3.ใช้บริการนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าว
หากไม่ต้องการเดินเรื่องหรือยื่นเอกสารด้วยตนเอง สามารถเลือกใช้บริการนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าวได้ ซึ่งทางนายหน้าจะจัดการให้ทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มให้คำปรึกษาและทำการขอเอกสารต่าง ๆ ที่นายจ้างต้องใช้สำหรับการจัดหาแรงงาน จากนั้นก็นำเอกสารมายื่นยังนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าวให้ครบ ทางนายหน้าก็จะจัดการต่อเพื่อค้นหาแรงงานต่างด้าวมาให้
นอกจากเกร็ดความรู้เกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไง สิ่งที่ HR ควรรู้ ก่อนนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ยังมีอีกหลายเรื่อง ดังนี้
สิ่งที่ HR ควรรู้
- 1.ใบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างด้าว
เรื่องแรกที่ HR ต้องรู้ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว คือแรงงานทุกคนจะต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะถูกออกโดยกระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน เอกสารอนุญาตให้ทำงานจะประกอบไปด้วยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงาน ได้แก่ ทำงานอะไร ทำที่ไหน นายจ้างคือใคร แรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องทำงานตามใบอนุญาตนั้น และไม่สามารถถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้ด้วย แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานจะได้รับความคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว และหากมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะงานบางอย่างที่ผิดไปจากในใบอนุญาต จะต้องทำการแจ้งตามระเบียบ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต
เอกสารที่ใช้ในการขอใบอนุญาตจ้างแรงงานต่างด้าว
- รูปถ่ายแรงงานขนาด 3×4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 2 รูป
- หนังสือเดินทาง
- สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เข้ามาและอยู่ใบราชอาณาจักร (VISA) จำนวน 1 ชุด
- หนังสือรับรองการจ้าง (แบบ บต. 46)
- ใบรับรองแพทย์
- 2. แรงงานจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ
แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน เพื่อนำใบรับรองแพทย์ ไปขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) โดยในการตรวจสุขภาพหลัก ๆ คือการตรวจหาโรคติดต่อ รวมถึงโรคบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ดังนี้
- โรคเรื้อน (Leprosy)
- วัณโรคระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)
- โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)
- โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)
- โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)
- โรคซิฟิลิสใน (syphilis)
- 3.แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยทุกคนจะต้องรายงานตัวทุก 90 วันที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากแจ้งเกินกำหนดจะถูกปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
- 4.แรงงานต่างด้าวต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ บางกรณีอนุโลมให้สามารถจ้างแรงงานอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 15 ปี โดยงานที่ทำจะต้องเป็นงานที่ไม่อันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ หรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น
- 5.แรงงานจะต้องส่งประกันสังคม
แรงงานต่างด้าวจะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมเช่นเดียวกับแรงงานไทยเอง เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องนี้ HR แต่ละบริษัทจะต้องดำเนินการให้ตามขั้นตอน
- 6.การจ้างแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต มีโทษทางกฎหมาย
เรื่องต้องรู้อีกหนึ่งเรื่องของ HR ก็คือการการจ้างแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต มีโทษทางกฎหมาย โดยข้อกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่า หากจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อแรงงานต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (ม.102) หากกระทำผิดซ้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000-200,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกห้ามไม่ให้จ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี
สิ่งที่ HR ต้องรู้ หลัก ๆ คือความต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องหายังไงให้ถูกกฎหมาย ไม่ใช่แรงงานเถื่อนที่ทำให้เกิดผลเสียตามมา ไปจนถึงขั้นตอนการจ้างแรงงานต่างด้าว การดำเนินเรื่องเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมาย