สาเหตุ “ตาปลา” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง

Home » สาเหตุ “ตาปลา” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง
สาเหตุ “ตาปลา” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีก้อนกรวด ติดอยู่กับเท้าตลอดเวลาจึงรู้สึกเจ็บเมื่อเดินทั้งเวลาสวมรองเท้า หรือแม้เดินด้วยเท้าเปล่าอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิตได้

ศ. ดร. นพ.ประวิตร อัศวานนท์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตาปลามีหลายชนิด แต่ 2 ชนิดที่พบบ่อย คือ

  1. ตาปลาชนิดตุ่มเล็กและมีแกนตรงกลาง (hard corn)
    เกิดจากการกด โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก จึงมักพบบริเวณฝ่าเท้า พบได้ในทุกช่วงวัย
  2. ตาปลาแบบผิวด้าน (callus)
    เกิดจากการเสียดสี มักพบในนักกีฬาและผู้สูงอายุที่เท้าเริ่มมีการผิดรูป ทำให้เกิดการเสียดสีบางจุดมากกว่าปกติ จึงเกิดได้หลายตำแหน่งของเท้า

การรักษาตาปลา

  1. ทายาเพื่อช่วยลอกผิวหนังกำพร้า
  2. การผ่านผิวหนังที่หนาออก ซึ่งเป็นหัตถการที่ควรทำโดยแพทย์
  3. เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับ หลวม หรือ แข็ง จนเกินไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ