สาวแชร์ประสบการณ์! เส้นเลือดอักเสบ ผื่นแดงจากจุดเล็กๆ ก่อนลามขึ้นเต็มขา

Home » สาวแชร์ประสบการณ์! เส้นเลือดอักเสบ ผื่นแดงจากจุดเล็กๆ ก่อนลามขึ้นเต็มขา


สาวแชร์ประสบการณ์! เส้นเลือดอักเสบ ผื่นแดงจากจุดเล็กๆ ก่อนลามขึ้นเต็มขา

สาวแชร์ประสบการณ์! เส้นเลือดอักเสบ ผื่นแดงจากจุดเล็กๆ ก่อนลามขึ้นเต็มขา

วันที่ 22 มี.ค.66 สมาชิก TikTok @nongam169 โพสต์แชร์ประสบการ อาการป่วยเส้นเลือดอักเสบ โดยระบุข้อความว่า “แชร์ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต #เส้นเลือดอักเสบ ตอนเป็นก็แอบจิตตกเบาๆ ตกใจมาก แล้วก็ไม่คิดว่าจะหาย”

พร้อมกับโพสต์ภาพ โดยเป็นภาพจุดแดงเล็กๆ ที่ขา ก่อนจะเริ่มลุกลามไปทั้งขา ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจุดๆ ทั่วทั้งขา ดูแล้วน่ากลัวมาก หลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ไป ก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ผู้โพสต์จะเข้ามาคอมเมนต์ว่า “ขอบคุณทุกคนนะคะ ตอนนี้หายแล้วค่ะ กินยาแก้ปวด แก้แพ้ แก้อักเสพ 3 เวลา พักผ่อนเยอะๆ งดของหมักของดอง ใครที่เป็นอยู่สุ้ๆนะคะ ไม่คิดมากด้วยนะ”

 

@nongam169 แชร์ประสบการณ์ครั่งนึงในชีวิต #เส้นเลือดอักเสบ ♬ เสียงต้นฉบับ – PC🤟🍭

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ “https://www.pobpad.com” ได้โพสต์อธิบายโรคนี้ว่า อาการโรคหลอดเลือดอักเสบอาจแบ่งออกได้เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เช่น ปวดหัว มีไข้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตามร่างกาย ผื่นแดง ผื่นนูน อาการคัน ชา หรืออ่อนแรงตามส่วนต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีอาการหลอดเลือดอักเสบที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือผลข้างเคียงของยา (Hypersensitivity vasculitis) ส่งผลให้เกิดจุดแดงตามผิวหนังของผู้ป่วย โดยมักพบบริเวณขาส่วนล่าง

ส่วนสาเหตุนั้น ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โรคนี้จะทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบหรือมีเลือดออก จึงอาจส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น บางลง หรือตีบลงได้ โดยความผิดปกติเหล่านี้จะส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น เมื่อการไหลเวียนของเลือดผิดปกติไป ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นมา

สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดอักเสบมุ่งเน้นไปที่การควบคุมการอักเสบของหลอดเลือด ร่วมกับการรักษาตามสาเหตุของโรค ซึ่งการรักษาแบ่งเป็นสองช่วง คือ ช่วงยับยั้งการอักเสบและช่วงป้องกันอาการกำเริบ เนื่องจากโรคนี้มีความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำและอาจต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในการรักษาการอักเสบ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยากลุ่มชีวบำบัด (Biologic Therapies) ซึ่งระยะเวลาการรักษาและยาที่แพทย์สั่งอาจขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่ผิดปกติ ชนิดและความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาตามอาการให้ผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดโป่งพอง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อใส่คลิปหนีบ (Surgical Clipping) หรือขดลวด (Endovascular Coiling) บริเวณหลอดเลือดที่โป่งพอง เพื่อลดการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม การรักษาทั้งสองรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหรือการผ่าตัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ